ศูนย์ฯ ลูกหนี้แห่งชาติ ร้องธปท. เชิญเจ้าหนี้แบงก์- นันแบงก์ร่วมแก้ไขหนี้ทั้งวงจร
นางกัลยาณี กล่าวว่า การแก้ไขหนี้ภาคประชาชนจะต้องแก้ไขทั้งหนี้ในระบบและนอกระบบ และให้ครอบคลุมหนี้ของสมาชิกใน ครอบครัว รวมถึงภาระหนี้ค้ำประกันด้วย หากรัฐบาลแก้ไขหนี้นอกระบบมาอยู่ในระบบ ขณะที่ลูกหนี้ที่เป็นหนี้ในระบบและติดบัญชีดำของเครดิตบูโร รวมทั้งไม่มีความสามารถใช้หนี้ ในที่สุดก็ดิ้นไม่หลุดก็ต้องไปหาหนี้นอกระบบอีก
หลักการปรับโครงสร้างหนี้จะต้องปรับหนี้ตามความสามารถของลูกหนี้ ที่แท้จริง ยกตัวอย่าง ลูกหนี้รายหนึ่งมีหนี้บัตรเครดิต 30 บัตร มีเงินเดือน 1.5 หมื่นบาท แต่ละบัตรให้ผ่อนชำระขั้นต่ำ 2,000 บาท ลูกหนี้ก็ไม่สามารถที่จะผ่อนชำระได้ ดังนั้นต้องแจ้งให้เจ้าหนี้ทุกราย รับรู้ว่า ลูกหนี้มีรายได้มีหลักทรัพย์อะไร และเฉลี่ยแล้วเจ้าหนี้แต่ละรายได้เท่าไร
“โดยหลักการแล้วถ้าลูกหนี้มีเงินเดือน 1 หมื่นบาท จะมีความสามารถการชำระหนี้ได้ประมาณ 45% ส่วนที่เหลือ 55% จะเป็นเงินที่ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และหากเจ้าหนี้ต่างคนต่างฟ้องร้องให้ลูกหนี้ล้มละลาย เจ้าหนี้แต่ละรายก็อาจจะไม่ได้อะไรและเป็นการตัดอนาคตลูกหนี้อาจจะถูกไล่ออก จากงาน ไม่มีรายได้ และก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมา” นางกัลยาณีกล่าว
สำหรับความคืบหน้าโครงการ “ยิ้มรับ..ปรับหนี้ที่อยู่อาศัย” ที่ศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติ ร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) ให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้เดือดร้อนจากภาระหนี้สินด้านที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นทางออกสำหรับผู้ที่มีปัญหาบ้านกำลังจะถูกยึด ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ถูกฟ้องล้มละลาย ซึ่งให้ลูกหนี้มาจดทะเบียนระหว่างวันที่ 1-30 ธ.ค.2552 มีไม่กี่พันรายจาก ที่ประมาณการว่ามีประชาชนที่มีปัญหาหนี้เงินกู้ซื้อบ้านและอยู่ระหว่างการ ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี 7 หมื่นราย
แนวทางการแก้ไข กทม.อาจ ขยายระยะเวลาการลงทะเบียนและต้องมีการประชาสัมพันธ์มาก กว่านี้ หรืออาจจะให้ธนาคารออมสินช่วยแนะนำประสานงาน มาต่อที่กทม.
ที่มา : http://money.impaqmsn.com/content.aspx?id=19866&ch=227
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น