ลูกหนี้เมาส์ กระจาย หน้าซีบอกซ์ คุยกันสดๆ เลย ขอรับ

วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เปิดลงทะเบียนช่วย ขรก.ไม่ให้ถูกฟ้อง

เปิดลงทะเบียนช่วย ขรก.ไม่ให้ถูกฟ้อง

วันอังคาร ที่ 21 กันยายน 2553 เวลา 13:18 น


ยุติธรรมเปิดลงทะเบียนลูกหนี้ ช่วยเหลือข้าราชการ-รัฐวิสาหกิจไม่ให้ถูกฟ้องล้มละลาย
เมื่อ วันที่ 21 ก.ย. ที่กระทรวงยุติธรรม ชมรมปฏิรูปสิทธิลูกหนี้ นำโดย น.ส.อาจิน จุ้งลก เลขานุการชมรมปฏิรูปสิทธิลูกหนี้ ได้ตั้งโต๊ะรับลงทะเบียนลูกหนี้ใน และนอกระบบจากกลุ่มข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ที่ศูนย์บริการร่วม กระทรวงยุติธรรม โดย น.ส.อาจิน กล่าวว่า ปัจจุบันมีข้าราชการถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลายเป็นจำนวนมาก สาเหตุหลักของการเป็นหนี้จนกระทั่งศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย เกิดจากการนำตำแหน่งไปค้ำประกันให้ผู้อื่น เมื่อเจ้าหนี้ไม่สามารถทวงหนี้จากผู้กู้ ก็จะมาติดตามทวงหนี้จากผู้ค้ำประกัน ดังนั้น ชมรมจึงพยายามผลักดันให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาหนี้ของข้าราชการ และเรียกร้องให้แก้กฎหมาย ไม่ให้ข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องพ้นสภาพจากการถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย

น.ส.อาจิน กล่าวต่อว่า ในปีนี้มีแนวโน้มที่ข้าราชการจะถูกฟ้องล้มละลายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นผลพวงจากการดำเนินคดีทางแพ่งในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ซึ่งคดีสิ้นสุดมีคำสั่งศาลฎีกาให้เป็นบุคคลล้มละลายในปีนี้ ก่อนหน้านี้ชมรมได้รวบรวมตัวเลขข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 925 ราย จาก 50 เขตในกรุงเทพมหานคร เป็นพนักงาน ขสมก. 622 ราย, การบินไทย 120 ราย, รพ.จุฬาฯ 103 ราย, ครู 30 ราย และส่วนราชการอื่นอีก 50 ราย นำเสนอต่อ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ล่าสุด ได้เจรจาประนอมหนี้กับสถาบันการเงิน เพื่อโอนหนี้มาผ่อนชำระกับธนาคารออมสินเพียงแห่งเดียว ดังนั้น ชมรมจึงเปิดรับลงทะเบียนผู้ที่เป็นหนี้ทั้งใน และนอกระบบ จากนั้น จะคัดกรองลูกหนี้หากพบว่าเป็นบุคคลล้มละลายโดยทุจริต หรือล้มละลายซ้ำซาก ก็จะไม่ให้ความช่วยเหลือ.

ข้อมูลอ้างอิง : เดลินิวส์ออนไลน์

ห่วงข้าราชการถูกฟ้องล้ม

ยธ.ห่วงขรก.ถูกฟ้องล้มละลาย


กรมบังคับคดีห่วงข้าราชการถูกฟ้องล้มละลายเกลื่อนเมือง บริษัททวงหนี้เตะถ่วงไม่เจรจาจนดอกเบี้ยท่วมหัว
นางชูจิรา กองแก้ว อธิบดีกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้รับการร้องเรียนจากลูกหนี้จำนวนมากที่ถูกคำพิพากษาศาลให้บังคับใช้ หนี้ แต่เจ้าหนี้กลับเพิกเฉยไม่ยอมติดต่อด้วย เพราะถือว่ามีอำนาจการต่อรองจึงไม่ยอมจะเจรจาด้วยและต้องการเรียกหนี้ เต็มจำนวน เนื่องจากหนี้หลังจากศาลมีคำพิพากษายังสามารถที่จะคิดดอกเบี้ยได้ จึงประวิงเวลาที่จะดำเนินการส่งเรื่องให้กรมบังคับคดี ทำให้ข้าราชการพนักงานรัฐวิสาหกิจมีปัญหาเพราะอาจต้องพ้นสภาพการเป็นพนักงาน ของรัฐ
ทั้งนี้ เบื้องต้นกรมบังคับคดีได้สำรวจพบว่ามีคดีที่ศาลมีคำพิพากษา แต่ยังไม่มีการบังคับคดี 8 แสนคดี ส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงิน เช่น หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล และมีเจ้าหนี้เป็นบุคคล 50% ซึ่งคิดเป็นมูลหนี้รวม 1 ล้านล้านบาท โดยอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ประเด็นที่น่าเป็นห่วง คือ ลูกหนี้ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ โดยเจ้าหนี้ได้มีการว่าจ้างบริษัททวงหนี้ และส่วนใหญ่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินจะขายหนี้ให้กับบริษัทติดตามทวง หนี้ไปจัดการ โดยบริษัททวงหนี้จะนำคำพิพากษาของศาลไปเพื่อที่จะข่มขู่ลูกหนี้ที่เป็นข้า ราชการว่า หากไม่ชำระหนี้จะถูกฟ้องล้มละลายและจะต้องถูกออกจากราชการ และไม่ยอมที่จะเจรจาปรับโครงสร้างหนี้หรือลดหนี้ให้ โดยหวังจะเรียกเก็บหนี้เต็มจำนวนพร้อมบวกค่าใช้จ่ายต่างๆ
ขณะที่ลูกหนี้บางรายมียอดหนี้เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว และยืดเยื้อที่จะให้ยอดหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และฟ้องที่จะบังคับคดีที่จะยึดทรัพย์ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องอันตรายต่อข้า ราชการ
ทั้งนี้ เจ้าหนี้จะมาเร่งในช่วง 5 ปี เพราะหลังจาก 5 ปีแล้วจะไม่สามารถที่จะคิดดอกเบี้ยได้อีก หรือจะให้ยอดหนี้ถึง 1 ล้านบาท ถึงจะยื่นฟ้องล้มละลายได้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้แนวทาง กรมบังคับคดีและกรมคุ้มครองสิทธิ กระทรวงยุติธรรม หารือแนวทางการช่วยเหลือกล่มลูกหนี้ดังกล่าว โดยจะจัดโครงการไกล่เกลี่ยหลังจากศาลมีคำพิพากษาและเปิดช่องทางให้ลูกหนี้ ที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวเข้าไปร้องเรียนที่กรมบังคับคดีและกรมคุ้มครอง สิทธิ ซึ่งสามารถที่จะเจรจาขอปรับลดมูลหนี้ได้ตามความสามารถของลูกหนี้
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 21 ก.ย. ที่กระทรวงยุติธรรม กลุ่มชมรมปฏิรูปสิทธิลูกหนี้ ได้ตั้งโต๊ะรับลงทะเบียนกลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ที่ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลายจำนวนมาก สาเหตุเพราะเข้าไปค้ำประกันให้ผู้อื่น เมื่อเจ้าหนี้ไม่สามารถทวงหนี้จากผู้กู้ได้ก็ติดตามทวงจากผู้ค้ำประกัน จึงต้องการผลักดันให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาหนี้ของข้าราชการและเรียกร้องให้แก้ กฎหมาย ไม่ให้ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องพ้นสภาพ เพราะถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย
ข้อมูลของชมรมปฏิรูปสิทธิลูกหนี้ พบว่า มีข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 925 คน ในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่ถูกฟ้องล้มละลายล่าสุดได้เจรจาประนอมหนี้กับสถาบันการเงินเพื่อโอนหนี้มา ผ่อนชำระกับธนาคารออมสิน
นางชูจิรากล่าวว่า ขณะนี้กรมบังคับคดีได้ชะลอการขายทอดตลาด เนื่องจากถูกร้องเรียนว่าการกำหนดการประมูลขายทอดตลาดครั้งแรก 80% และครั้งที่สอง 50% ของราคาประเมินทำให้มีปัญหาลูกหนี้เสียเปรียบถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดในราคา ถูก ทำให้ไม่สามารถที่จะชำระหนี้ได้หมดและทำให้มีภาระหนี้อีก ดังนั้นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ต้องการปรับปรุงการประมูลใหม่โดยให้มีการขายทอดตลาดตามราคาประเมินที่แท้ จริง

ข้อมูลอ้างอิง : Post Today
ขอขอบคุณ โพสทูเดย์
ศูนย์ประสานลูกหนี้ ปลุกระดมลูกหนี้ปรส.-บสท. ร่วมกับฟ้องคดีมหาชนทวงสิทธิลูกหนี้ PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Consumerthai   
วันอังคารที่ 17 มีนาคม 2009 เวลา 10:05
นางกัลยาณี รุทระกาญจน์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้ยื่นหนังสือถึงนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เพื่อร้องเรียนการดำเนินงานบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เรื่องความโปร่งใสในการฟ้องล้มละลายลูกหนี้ โดยมีการยึดทรัพย์สินไปโดยไม่ชอบ และขัดกับคำพิพากษาของศาลแพ่งที่ให้ขายทอดตลาดสินทรัพย์ แต่บสท. กลับยึดไปขายเอง ทำให้ราคาสินทรัพย์ต่ำไม่คุ้มมูลหนี้ ทำให้นอกจากลูกหนี้ถูกยึดทรัพย์ และต้องชำระหนี้เพิ่มเติม ยังรวมถึงถูกฟ้องล้มละลายด้วย

ขณะเดียวกันได้เตรียมการเชิญชวน ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องล้มละลายอย่างไม่เป็น ธรรมมารวมตัว เพื่อที่จะฟ้องร้องดำเนินคดีมหาชนและคดีแพ่งกับบสท. และนายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ อดีตกรรมการผู้จัดการบสท.

“มีกรณีตัวอย่างคดีที่ ลูกหนี้ฟ้องชนะบสท. มาแล้ว จากจำนวนลูกหนี้ ที่โอนจากธนาคารมาให้บสท. 1.5 หมื่นราย แต่บสท. ส่งฟ้องล้มละลาย 8,000-9,000 ราย ซึ่งถือว่าการทำงานของบสท.ล้มเหลว ทั้งที่การ จัดตั้งบสท. เพื่อจะช่วยให้ลูกหนี้ ฟื้นตัวได้จากวิกฤตเศรษฐกิจ แต่เป็นการซ้ำเติมลูกหนี้” นางกัลยาณี กล่าว

นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มลูกหนี้ขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ที่ถูกขายให้กองทุนต่างชาติไปแล้ว ที่ถูกยึดทรัพย์ไปแล้ว หรือกำลังถูกฟ้องล้มละลาย หรือถูกศาลมีคำสั่งล้มละลายไปแล้ว มาลงชื่อเพื่อรวมตัวกันเพื่อที่จะทวงสิทธิคืนจำนวนมาก โดยศูนย์ จะรวบรวมข้อมูลเอกสารหลักฐานเพื่อรวมกันดำเนินการฟ้องคดีมหาชน ทั้งทางแพ่งและทางอาญาต่อกองทุนต่างชาติ และบสท. เพื่อเรียกทรัพย์และสิทธิคืน
รวมทั้งรวบรวมรายชื่อเสนอรัฐบาล เพื่อขอให้เจ้าหนี้ระงับการบังคับคดีฟ้องล้มละลาย จนกว่าคดีอาญาที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ฟ้องกองทุนต่างชาติจะดำเนินการเสร็จสิ้น และขอให้รัฐบาลอายัดทรัพย์ของกองทุนต่างชาติ ที่ได้ประมูลซื้อสินทรัพย์ 56 ไฟแนนซ์ที่ปิดกิจการไปจากปรส. เป็นการป้องกันเอาเงินออกนอกประเทศ

ข้อมูลอ้างอิง : เขียนโดย Consumerthai   
วันอังคารที่ 17 มีนาคม 2009 เวลา 10:05
ชมรมหนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคล

ต่อสู้อย่างไร จึงชนะ พี่เค๊าเล่าเรื่อง

  • เหยื่อฟองสบู่แตก ปี 2540 - เรื่องนี้เป็นเรื่องของหลานชาย ค่ะ แต่ก็เกี่ยวกับเราเต็มๆได้เริ่มกู้เพื่อที่อยู่อาศัย ก่อนหน้าแบงค์ชาติประกาศ งดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ไม่กี่วัน ไม่มีใครร...
    15 ปีที่ผ่านมา