ลูกหนี้เมาส์ กระจาย หน้าซีบอกซ์ คุยกันสดๆ เลย ขอรับ

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

หลักเกณฑ์การชำระหนี้ กยศ

การชำระหนี้คืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเป็นไปตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 และระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้


1.  ผู้กู้ยืมเงินที่มีหน้าที่ชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
          -  ผู้กู้ยืมเงินที่สำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษาแล้วเป็นเวลา 2 ปี นับจากปีที่สำเร็จการศึกษาหรือเลิกศึกษา (ครบระยะเวลาปลอดหนี้)
          -  กรณีผู้กู้ยืมเงินที่ไม่กู้ต่อเนื่องติดต่อกัน 2 ปี และไม่แจ้งสถานภาพให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมทราบ จะถือว่าเป็นผู้ครบกำหนดชำระหนี้และมีหน้าที่ต้องชำระหนี้คืนกองทุน

2.  หลักเกณฑ์การชำระหนี้
          2.1   ผู้กู้ยืมเงินต้องชำระเงินกู้ยืม พร้อมทั้งดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใดร้อยละ 1 ต่อปี โดยต้องคืนให้กองทุนให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี นับแต่วันที่ต้องเริ่มชำระหนี้
          2.2   ให้ผู้กู้ยืมเงินชำระหนี้งวดแรก ภายในวันที่ 5 กรกฎาคม หลังจากครบระยะเวลาปลอดหนี้ โดยให้ชำระหนี้คืนเฉพาะเงินต้นในอัตราร้อยละ 1.5 ของวงเงินที่ได้กู้ยืม
          2.3   การชำระหนี้งวดต่อๆไปให้ผู้กู้ยืมเงินชำระเงินต้นคืน ตามอัตราผ่อนชำระที่กองทุนกำหนด พร้อมด้วยดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด ในอัตราร้อยละ 1 ต่อปีของเงินต้นที่คงค้าง ภายในวันที่ 5 กรกฎาคมของทุกปี
          2.4   หากผู้กู้ยืมเงินผิดนัดชำระหนี้ ผู้กู้ยืมเงินจะต้องชำระค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ตามอัตราที่กองทุนกำหนด
          2.5   ผู้กู้ยืมเงินที่มีความประสงค์จะขอชำระหนี้คืนก่อนครบกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ หรือก่อนครบระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี สามารถชำระคืนได้โดยไม่เสียดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด

          หมายเหตุ   1. ให้ผู้กู้ยืมเงินไปติดต่อแสดงตน ขอชำระหนี้ และเลือกวิธีการผ่อนชำระเป็นรายปี หรือรายเดือนกับผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมได้ทุกสาขาก่อนที่จะครบระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี
                            2. กรณีผู้กู้ยืมเงินยังอยู่ในระหว่างการศึกษา แต่ไม่ได้กู้ยืมในปีการศึกษาใด ต้องแจ้งสถานภาพการศึกษาต่อผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมโดยให้นำใบรับรองจากสถานศึกษาไปแสดงทุกปีจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา


3.  วิธีการนับระยะเวลาการครบกำหนดชำระหนี้ของผู้ที่สำเร็จการศึกษา
ตัวอย่าง

          ผู้กู้ยืมเงินที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2556 มีระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี ผู้กู้ยืมเงินจะครบกำหนดชำระหนี้คืนภายในวันที่ 5 กรกฎาคม 2559 ดังนี้


4.  วิธีการและหลักฐานในการชำระหนี้
      4.1  ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม


4.2 บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
     4.3 บริษัท เคาน์เตอร์ เซอร์วิส จำกัด โดยผู้กู้ยืมจะสามารถชำระผ่านสาขาที่ให้บริการรับชำระเงินผ่านร้านสะดวกซื้อ (7-ELEVEN) และสาขาที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในร้านสะดวกซื้อ รวม 9,300 สาขา สำหรับงวดที่ครบกำหนดการชำระเงินวันที่ 5 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นไป
5.  ค่าธรรมเนียมลดยอดหนี้ ผู้กู้ยืมต้องจ่ายค่าธรรมเนียมลดยอดหนี้รายการละ 10 บาท ให้กับผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม

6.  อัตราการผ่อนชำระ


          ผู้กู้ยืมเงินสามารถเลือกผ่อนชำระหนี้เป็นรายปีหรือรายเดือน โดยจำนวนเงินต้นที่ชำระเป็นรายปีหรือรายเดือนรวมตลอดปีหรือต้องไม่ต่ำกว่าอัตราดังนี้

7.  ตัวอย่างแสดงการผ่อนชำระหนี้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาแบบระยะเวลาผ่อน 5 ปี  10 ปี  และ 15 ปี

8.  ดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด และค่าปรับหรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้
8.1  ดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด
          การคิดดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด ให้คิดตั้งแต่วันที่ครบกำหนดชำระหนี้ของเงินต้นที่เหลือหลังจากชำระงวดแรกแล้ว  โดยสามารถคำนวณดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด ได้ดังนี้

8.2  ค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้    
หากผู้กู้ยืมเงินผิดนัดชำระหนี้ ผู้กู้ยืมเงินต้องชำระค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ตามที่กองทุนกำหนด ดังนี้
          (1)  กรณีผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือน   หากค้างชำระตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไปแต่ไม่เกิน 12 เดือน ชำระค่าปรับหรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ ร้อยละ 1 ต่อเดือนของเงินต้นงวดที่ค้างชำระ หากค้างชำระเกิน 12 เดือน ชำระค่าปรับหรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ ร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินต้นงวดที่ค้างชำระทั้งหมด
          (2)  กรณีผ่อนชำระหนี้เป็นรายปี หากค้างชำระไม่เกิน 1 งวดชำระค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ร้อยละ 1 ต่อเดือนของเงินต้นงวดที่ค้างชำระ กรณีผ่อนชำระหนี้เป็นรายปี หากค้างชำระตั้งแต่ 1 งวดขึ้นไปชำระค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินต้นงวดที่ค้างชำระทั้งหมด
โดยสามารถคำนวณค่าปรับหรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ ได้ดังนี้

9.  หลักเกณฑ์การขอผ่อนผันชำระหนี้ 

หมายเหตุ :  ผู้กู้ยืมเงินที่มีความประสงค์ขอผ่อนผันการชำระหนี้ ให้ติดต่อขอผ่อนผันจากผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมโดยยื่นแบบ กยศ.202 และ กยศ. 203 และต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนวันที่ครบกำหนดชำระหนี้ แต่ละงวด หากผู้กู้ยืมเงินยังไม่ชำระและพ้นวันที่ครบกำหนดชำระไปแล้ว (5 กรกฎาคมของทุกปี) ถือว่าผู้กู้ยืมเงินค้างชำระหนี้จะต้องเสียค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ตามอัตราที่กองทุนกำหนดและจะถูกติดตามหนี้จนกว่าจะได้รับอนุมัติผ่อนผันชำระหนี้จึงระงับการติดตามและถือเป็นหนี้ปกติต่อไป

10.  การชำระหนี้คืนก่อนกำหนด
          ผู้กู้ยืมเงินที่มีความประสงค์จะขอชำระหนี้คืนก่อนครบกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ หรือ ก่อนครบกำหนดระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี สามารถชำระคืนได้โดยไม่เสียดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด

11.  การบอกเลิกสัญญา


          สิทธิในการบอกเลิกสัญญามี 2 กรณี คือ

          11.1 กรณีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจบอกเลิกสัญญา
                    11.1.1 เมื่อผู้กู้ยืมเงินมิได้แจ้งให้ธนาคารทราบเป็นหนังสือภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เปลี่ยนแปลงชื่อ หรือนามสกุล หรือสถานที่อยู่ หรือย้ายสถานศึกษา หรือสำเร็จการศึกษา หรือเลิกศึกษา
                    11.1.2 เมื่อผู้กู้ยืมเงินมิได้แจ้งให้ธนาคารทราบเป็นหนังสือภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ผู้กู้ยืมเงิน
เริ่มทำงาน และในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินย้ายที่อยู่ หรือเปลี่ยนงาน หรือสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเงินเดือนค่าจ้างทุก ๆ ครั้ง

                    11.1.3 เมื่อปรากฏภายหลังว่าผู้กู้ยืมเงินไม่มีสิทธิกู้ยืมเงิน หรือได้มีการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ
ในสาระสำคัญ

                    11.1.4 เมื่อผู้กู้ยืมเงินไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อตกลงข้อหนึ่งข้อใดที่ให้ไว้กับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
          การบอกเลิกสัญญาตามข้อ 10.1.1 - 10.1.4 นั้น กองทุนมีสิทธิเรียกเงินที่ผู้กู้ยืมเงินได้รับไปแล้วทั้งหมดตามสัญญาคืนในทันที             
                    11.1.5 เมื่อผู้กู้ยืมเงินลาออกไม่ศึกษาต่อ หรือถูกสถานศึกษาให้ออก หรือไล่ออกในระหว่างปีการศึกษา
          การบอกเลิกสัญญาตามข้อ 10.1.5 นั้น กองทุนมีสิทธิเรียกเงินที่ผู้กู้ยืมเงินได้รับไปแล้วทั้งหมดตามสัญญาคืนในทันที หรือภายในระยะเวลาที่กองทุน กำหนดไว้

          11.2  กรณีผู้กู้ยืมเงินบอกเลิกสัญญา
          ผู้กู้ยืมเงินมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้  โดยผู้กู้ยืมเงินจะต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมและสถานศึกษาทราบ  และผู้กู้ยืมเงินจะต้องชำระหนี้เงินกู้ที่ได้รับไปแล้วและยังมิได้ชำระคืน  รวมทั้งดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด (ถ้ามี) ให้แก่ผู้ให้กู้ยืมภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมได้รับแจ้งการบอกเลิกสัญญาดังกล่าว

12. ภาระความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกัน


          12.1  ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินผิดสัญญา ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดชำระหนี้เงินกู้ยืมคืนกองทุนในฐานะลูกหนี้ร่วมกับผู้กู้ยืมเงิน
          12.2  ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินได้รับการผ่อนผันระยะเวลา หรือผ่อนผันจำนวนเงินในการชำระหนี้ไม่ว่ากรณีใดๆ
โดยจะแจ้งหรือไม่ได้แจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบก็ตาม ให้ถือว่าผู้ค้ำประกันตกลงยินยอมด้วยในการผ่อนผันระยะเวลาหรือผ่อนผันจำนวนเงินในการชำระหนี้ทุกครั้ง

13. การระงับแห่งหนี้


          13.1  ชำระหนี้ครบตามสัญญา
          13.2  ผู้กู้ยืมเงินถึงแก่ความตาย
                    กรณีที่ผู้กู้ยืมเงินถึงแก่ความตายให้หนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นอันระงับไป (เฉพาะหนี้ก่อนตาย) โดยต้องส่งสำเนาใบมรณบัตร สำเนาทะเบียนบ้านของผู้กู้ยืมเงิน และสำเนาบัตรประชาชนของบุคคลที่นำมาแจ้งพร้อมทั้งเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ และเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อญาติของผู้กู้ยืมเงิน ให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมทราบ (สำเนาใบมรณบัตร หมายถึง ใบมรณบัตรที่รับรองโดยเขต/อำเภอที่ออกใบมรณบัตรนั้น)
                   กรณีที่มีการโอนเงินค่าเล่าเรียน และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาของผู้กู้ยืมเงินเข้าบัญชีสถานศึกษาหลังจากผู้กู้ยืมเงินถึงแก่ความตาย  ให้สถานศึกษานำเงิน เฉพาะจำนวนเงินที่โอนหลังตายคืนกองทุน
                   กรณีมีการโอนเงินค่าครองชีพของผู้กู้ยืมเงินเข้าบัญชีผู้กู้ยืมเงินหลังจากผู้กู้ยืมเงินถึงแก่ความตาย
ให้ทายาทนำเงินคืนกองทุน

14. การระงับการเรียกให้ชำระหนี้


          กรณีที่ผู้กู้ยืมเงินเงินพิการ หรือทุพพลภาพไม่สามารถประกอบการงานได้ ให้ส่งสำเนาสมุดประจำตัวคนพิการที่ออกโดยกรมประชาสงเคราะห์ให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม เพื่อเสนอกองทุนพิจารณาอนุมัติระงับการเรียกให้ชำระหนี้ต่อไป

คัดลอกจาก : http://www.studentloan.or.th/detail.php?cid=1452

ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค: ฟ้องศาลคดียิ่งจบเร็ว ลูกหนี้...ไม่ต้องกลัวถูกฟ้อง

ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผยข้อมูลหลัง ‘พ.ร.บ.ทวงหนี้’ บังคับใช้ ชี้ถึงไม่มี กม.คดีก็ยังล้นศาล ย้ำการถูกฟ้องไม่ใช่เรื่องน่ากลัว




ที่มา: ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
หลังจาก พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558  มีผลบังคับใช้ เจ้าหนี้หรือบริษัทที่ทำธุรกิจติดตามทวงถามหนี้ ออกมาให้ความเห็นในเชิงทำนอง ว่าจากเดิมที่ให้โอกาสลูกหนี้แก้ตัวเป็นปีคงไม่สามารถทำได้แล้ว เพราะการทวงหนี้อาจมีกระทบกระทั่งกันเกรงจะผิดกฎหมายจึงต้องฟ้องลูกหนี้เร็วขึ้น พ.ร.บ.ฉบับนี้อาจทำให้คดีล้นศาล มีต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ต้นทุนเหล่านั้นลูกหนี้ต้องรับผิดชอบ หรือเจ้าหนี้จะให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินยากขึ้น เป็นต้น
แม้ไม่มี พ.ร.บ.ติดตามทวงหนี้ ลูกหนี้ถูกฟ้องคดีเพียบ
ต้องบอกว่าปัจจุบันแม้ไม่มี พ.ร.บ.ฉบับนี้คดีเรื่องหนี้ ล้นศาลอยู่ก่อนแล้ว เนื่องจากมีบริษัทหรือสำนักงานกฎหมายซื้อหนี้จากสถาบันการเงินมาบริหารจัดการ โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ทั้งที่ตามกฎหมายกำหนดให้เรียกร้องภายในอายุความ เช่น บัตรเครดิต 2 ปี และสินเชื่อส่วนบุคคลภายใน 5 ปี แต่เจ้าหนี้กลับไม่ฟ้องภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อหนี้ที่ซื้อมาขาดอายุความ ก็ส่งฟ้องศาล ลูกหนี้ไม่ทราบจึงไม่ได้ต่อสู้คดีเรื่องคดีขาดอายุความ ศาลต้องพิจาณาไปตามกระบวนการ ลูกหนี้จึงควรรู้ว่าเมื่อตัวเองผิดนัดชำระหนี้มานานแล้ว สามารถต่อสู้คดีกรณีหนี้ขาดอายุความได้
ส่วนการกู้ยืมเงินมักจะยากขึ้น เพราะปัญหาหนี้ NPL มีจำนวนเพิ่มขึ้น สถาบันการเงินจึงต้องตรวจสอบสถานะของลูกหนี้ในการปล่อยสินเชื่อให้รัดกุม เพื่อไม่ให้แบกรับภาระความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของสถาบัน
ข้อดีของการถูกฟ้อง
การถูกฟ้องนั้น ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว การเป็นหนี้ตามนั้นกฎหมายมีอายุความกำหนดไว้ว่ากรณีเป็นหนี้บัตรเครดิตจะมีอายุความ 2 ปี กรณีสินเชื่อส่วนบุคคล อายุความ 5 ปี กรณีการกู้ยืมเงินทั่วไปอายุความ 10 ปี
การฟ้องศาลจึงถือเป็นการหยุดอายุความ ซึ่งเป็นทางเลือกที่เจ้าหนี้ เลือกที่จะฟ้องลูกหนี้อยู่แล้ว
ถ้าฟ้องแล้วคำพิพากษาถึงที่สุด เจ้าหนี้ต้องบังคับคดีภายใน 10 ปีนับจากวันพิพากษา ถ้าฟ้องอายุความหยุดลงและโปรดรู้ไว้ว่า
- เรื่องหนี้นั้นเป็นคดีทางแพ่งไม่ติดคุก
- คดีจบเร็วไม่ยืดเยื้อ
- หากคดีนั้นขาดอายุความ ลูกหนี้สามารถต่อสู้คดีได้
- ลูกหนี้จะได้รับความเป็นธรรม ศาลจะช่วยดูเรื่องดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมที่ผิดกฎหมายให้ หรือสามารถต่อสู้คดีได้ หากผู้ประกอบการคิดดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมที่ผิดกฎหมาย
- ลูกหนี้ที่ไม่มีทรัพย์สินใดๆ มีแต่เงินเดือน อาจปล่อยให้กระบวนการทางคดี ไปถึงการอายัดเงินเดือน เพราะเจ้าหนี้ทำได้เพียงอายัดตามกฎหมายกำหนด และแม้มีเจ้าหนี้มากกว่า 1 ราย ก็จะสามารถทำได้ทีละรายเท่านั้นจนกว่าจะชำระหนี้เจ้าแรกที่บังคับคดีหมด
พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ช่วยลูกหนี้อย่างไร
พ.ร.บ.ฉบับนี้ออกมาเพื่อช่วยให้ลูกหนี้ไม่ถูกแรงกดดัน ข่มขู่ ทำร้ายร่างกาย ประจาน ทวงหนี้กับญาติพี่น้อง ทวงหนี้ไม่เป็นเวลา ทำให้เข้าใจว่าเป็นเจ้าหน้าที่ หรือการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเกินกว่ากฎหมายกำหนด จากผู้ที่ติดตามทวงหนี้ ลูกหนี้ที่ได้รับความเสียหายสามารถร้องเรียนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และที่ว่าการอำเภอได้ทุกแห่ง 
พ.ร.บ. การทวงหนี้ส่งผลกระทบกับคนทวงหนี้อย่างไร
- บริษัทหรือสำนักงานกฎหมายหรือบุคคลที่รับจ้างติดตามทวงหนี้ ต้องจดทะเบียน
- เจ้าหน้าที่รัฐห้ามทำธุรกิจทวงหนี้ บริษัทที่ซื้อหนี้เน่า (หนี้ NPL) จากสถาบันการเงินมาบริหารจัดการต้องรักษากติกาตามกฎหมาย ไม่สร้างแรงกดดัน ข่มขู่ลูกหนี้ ทำให้ลูกหนี้เข้าใจผิดว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หรือเรียกเก็บค่าติดตามหนี้ที่สูงเกินกฎหมายกำหนด
- มีโทษจำคุกและปรับ หากเจ้าหนี้หรือคนที่ติดตามทวงหนี้กระทำผิดกฎหมาย
แต่ถ้าคนทวงหนี้รู้กติกาและไม่ทำเกินกว่าเหตุ คงไม่มีการร้องเรียนเกิดขึ้นหรือหากเจ้าหนี้จะให้โอกาสลูกหนี้ผ่อนชำระ ด้วยการผ่อนปรนการชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็สามารถทำได้เพราะเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะดูแลลูกค้าของตัวเอง คงไม่เกี่ยวกับ พ.ร.บ.การทวงหนี้ ที่เจ้าหนี้ทั้งหลายพยายามจะอ้างแต่อย่างใด
หมายเหตุ: คลิกดู พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558

ต่อสู้อย่างไร จึงชนะ พี่เค๊าเล่าเรื่อง

  • เหยื่อฟองสบู่แตก ปี 2540 - เรื่องนี้เป็นเรื่องของหลานชาย ค่ะ แต่ก็เกี่ยวกับเราเต็มๆได้เริ่มกู้เพื่อที่อยู่อาศัย ก่อนหน้าแบงค์ชาติประกาศ งดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ไม่กี่วัน ไม่มีใครร...
    15 ปีที่ผ่านมา