ลูกหนี้เมาส์ กระจาย หน้าซีบอกซ์ คุยกันสดๆ เลย ขอรับ

วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552

แนะลูกหนี้หยุดจ่ายรอศาลชี้ขาด เตือนระวังเจรจาประนอมหนี้

แนะลูกหนี้หยุดจ่ายรอศาลชี้ขาด เตือนระวังเจรจาประนอมหนี้




เมื่อวานนี้ (30 ก.ย.)นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าว ว่า เนื่องจากในปัจจุบันได้มีลูกหนี้ที่มีปัญหาได้โทรศัพท์มาสอบถาม เพื่อขอความช่วยเหลือถึง 100 สายต่อวัน โดยมีความเดือดร้อนที่ต่างกัน จากลูกหนี้บัตรเครดิตทั้งหมดประมาณ 11.2 ล้านบัตร หนี้สินเชื่อบุคคลประมาณ 7 ล้านบัญชี แต่ที่สำคัญต้องการแนะนำลูกหนี้ว่า หากมีปัญหาหนี้บัตรเครดิตหลายใบและมีปัญหาการผ่อนชำระ โดยปัญหาค่อนข้างวิกฤติแล้ว หากยังชำระต่อไป ต้องประสบปัญหาต่อค่าใช้จ่ายในครอบครัว ต้องใช้วิธีการหมุนเวียนไปกดเงินจากบัตรเครดิตใบอื่น เพราะยังห่วงเรื่องเครดิตของตัวเอง ถือว่าเป็นแนวทางไม่ถูกต้อง

หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค กล่าวต่อว่า แนวทางที่ดีที่สุดคือ หากปัญหาหนี้ไม่มากนักให้เลือกชำระขั้นวงเงินขั้นต่ำ หากภาระหนี้จำนวนมากแนะนำให้หยุดการชำระนี้ทันที เพื่อรอให้ศาลเป็นผู้พิจารณา ซึ่งจะใช้เวลาอีก 4 - 5 เดือน เพื่อใช้เวลาในช่วงดังกล่าวเก็บเงินเป็นกองทุนเพื่อชำระหนี้บัตรเครดิตต่าง ๆ ภายหลัง โดยลูกหนี้ที่หยุดชำระหนี้ ระยะเวลาฟ้องร้องที่เจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิในการฟ้องร้อง คือหากเป็นหนี้บัตรเครดิต ระยะเวลา 2 ปี หนี้สินเชื่อบุคคล 5 ปี หนี้ระหว่างบุคคลทั่วไป 10 ปี

ส่วนการยึดทรัพย์นั้น ทรัพย์สินที่เป็นของ เครื่องใช้ในครัวเรือนที่จำเป็นในการดำรงชีวิต มูลค่ารวมกัน 50,000 บาทแรกห้ามเจ้าหนี้ยึด เช่น โต๊ะรับประทานอาหาร เก้าอี้ โทรทัศน์ เครื่องครัว แต่หากเป็น สร้อย แหวน นาฬิกา สามารถยึดได้ ส่วนกรณีลูกหนี้มีเงินเดือนไม่ถึง 10,000 บาทต่อเดือน ห้ามเจ้าหนี้ทำการอายัด แต่ภาระหนี้ไม่ได้หมดไป เพียงแต่ชะลอไว้ก่อน หากลูกหนี้เป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำส่วนราชการ ห้ามเจ้าหนี้อายัดเงินเดือน

นายอิฐบูรณ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับการประนอมหนี้ทางโทรศัพท์กับบริษัทติดตามหนี้นั้น ให้ระมัดระวังโดยเฉพาะการรวมเงินต้น ภาระดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมเข้าด้วยกัน โดยบริษัทติดตามหนี้พยายามแนะว่า ภาระดอกเบี้ยจะต่ำกว่าเดิม แต่จะทำให้ภาระเงินต้นสูงกว่าเดิม 2 - 3 เท่าตัว และการทำสัญญาต้องทำกับบริษัทบัตรเครดิตเท่านั้น อย่าทำสัญญากับบริษัทติดตามหนี้ เมื่อมีการปรับโครงสร้างหนี้ เนื่องจากมีหลายกรณีได้ผ่อนชำระ เมื่อตกลงปรับโครงสร้างหนี้แล้ว แต่บริษัทบัตรเครดิตไม่รับทราบ ก็ยังต้องจ่ายเงินชำระหนี้เท่าเดิม


วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

ข่าวอัฟเดท ล่าสุด


เศรษฐกิจ-ธุรกิจ
ข่าวโดย Nation Channel
วันที่ 14 กันยายน 2552

กรณ์สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือช่วยหนี้นอกระบบ
รัฐมนตรีคลัง สั่งศูนย์จัดการหนี้ภาคประชาชนหารือกับ ธ.ออมสิน และ ธ.ก.ส.รีไฟแนนซ์หนี้นอกระบบ พร้อมขึ้นทะเบียนลูกหนี้ใหม่ หวังแก้ปัญหาให้เสร็จภายในสิ้นปีนี้
ตั้งโต๊ะลงทะเบียนช่วยคนจนล้างหนี้นอกระบบ//ดึง2แบงก์รัฐเจรจาเจ้าหนี้
เล็งปัดฝุ่นกฎหมายทวงหนี้
โดย สยามรัฐ วัน จันทร์ ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552 เวลา 23:00:44 น.

" กรณ์ " สั่งปัดฝุ่นบัญชีหนี้นอกระบบใหม่ เตรียมให้ชาวบ้านขึ้นทะเบียนกับแบงก์ออมสิน-ธ.ก.ส. พร้อมเปิดโต๊ะเจรจากับเจ้าหนี้ ส่วนปัญหาหนี้บัตรเครดิต ก.ยุติธรรม อยู่ระหว่างการยกร่าง พ.ร.บ.ควบคุม ขณะที่คลัง เร่งยกร่าง พ.ร.บ.การติดตามทวงหนี้อย่างเป็นธรรม เมื่อวันที่ 14 ก.ย.52 นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้เตรียมจะแก้ปัญหาหนี้นอกระบบให้แก่เกษตรกรที่ยังมีหนี้อยู่เป็นจำนวนมาก และภาระหนี้ที่ประชาชนได้เคยขึ้นทะเบียนไว้แล้วก่อนหน้านี้ โดยเห็นว่า ขณะนี้เวลาผ่านมาหลายปีแล้วอาจมีการเปลี่ยนแปลง เพราะข้อมูลหนี้นอกระบบที่มีอยู่ยังต้องแก้ไขมีอยู่ประมาณ 100,000 คน คิดเป็นมูลหนี้ประมาณ 6,000 ล้านบาท ดังนั้น รัฐบาลจึงเตรียมให้ประชาชนที่มีภาระหนี้มาขึ้นทะเบียนเพื่อเก็บข้อมูลให้ทัน เหตุการณ์ในเร็วๆ

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

กระดานที่ใช้ในการแจ้งข่าว หรือถามปัญหา แทนเว็บบอร์ดที่กำลังซ่อม




ไปที่นี่เลยครับ http://debtor.ning.com

แจ้งข่าว สมาชิกฯ เรื่อง เว็บบอร์ด ใช้ไม่ได้

เรียน สมาชิกหน้าเว็บบอร์ด ทุกท่าน

ทีมงานเว็บบล๊อค เว็บบอร์ด และสถานีลูกหนี้ ทุกท่าน ที่กำลังมีปัญหาในการเข้าใช้งาน
ใช้บริการ ผ่านหน้าเว็บบอร์ด และรับฟังสัญญาณเสียงจากทางสถานี ออนไลน์

เนื่องจาก ขณะนี้มีสมาชิกเข้าใช้พร้อมกันเป็นจำนวนมาก สำหรับอุปกรณ์ ที่ทีมงาน
ใช้ให้บริการ เกินความคาดหมาย ทำให้เกิดปัญหาในการใช้งาน อยู่ในขณะนี้ ซึ่งกำลังดำเนินการ
แก้ไข อย่างเร่งรีบแล้ว

อย่างไรก็ดี คาดว่าจะสามารถใช้บริการ ทั้งหน้าเว็บบอร์ด ได้ตามปกติ ภายในวันที่ 22
มิถุนายน 2552 คือ พรุ่งนี้ ครับ ส่วนการถายทอดสัญญาณเสียงทางสถานี ออนไลน์ น่าจะใช้ได้ปกติในวันนี้

ทางทีมงานผู้ดำเนินงาน ต้องกราบขออภัยมา ณ. ที่นี้ด้วย ครับ

เด็บเต่อร์ รันเน่อร์

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

กรณี หนี้ของท่าน เข้าหลักใดของธนาคารระบบอิสลาม







ธุรกิจและการเงิน : ธนาคารระบบอิสลาม
แนวคิดเรื่องธนาคารระบบอิสลาม หรือ ระบบการธนาคารที่ดำเนินการภายใต้หลักของศาสนาอิสลาม ซึ่งนิยมเรียกเป็นสามัญว่า “ ธนาคารอิสลาม ” มีมาในสังคมไทยเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 20 ปี แต่สำหรับสังคมไทยโดยทั่วไปแล้วเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่มาก

แม้ว่าการก่อตั้งธนาคารอิสลามดูไบ (Dubai Islamic Bank) ซึ่งเป็นธนาคารระบบอิสลามในรูปแบบปัจจุบันได้ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2518 และได้ขยายตัวทั้งธนาคารเต็มรูปแบบและเป็นส่วนหนึ่งของธนาคารระบบเดิม (WINDOWS) โดยได้รับการยอมรับจากทั้งมุสลิม และผู้ที่ไม่ได้เป็นมุสลิมไปทั่วทั้งเอเชีย ยุโรป อัฟริกา อเมริกา และออสเตรเลีย ไม่น้อยกว่า 48 ประเทศ มากกว่า 280 ธนาคาร

วิวัฒนาการของธนาคารอิสลาม ในปี พ.ศ.2506 Ahmad El Najjar ได้ก่อตั้งธนาคารเพื่อการออมทรัพย์ขึ้นที่เมือง Mit Ghamr ประเทศอียิปต์ ดำเนินงานโดยยึดหลักการแบ่งปันผลกำไรขึ้นเป็นครั้งแรก และเมื่อปี พ.ศ. 2510 ได้เกิดธนาคารประเภทเดียวกันนี้อีก 9 แห่ง ธนาคารเหล่านี้จะไม่คิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ และไม่จ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ฝากเงิน ธนาคารจะนำเงินที่รับฝากไปลงทุนในการค้า และอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ทั้งที่เป็นการลงทุนของธนาคารเองทั้งหมด หรือร่วมลงทุนกับบุคคลอื่น แล้วแบ่งปันผลกำไรที่ได้จากการค้าการลงทุนกับผู้ฝากเงิน ธนาคารเหล่านี้ทำหน้าที่เสมือนเป็นสถาบันการเงินเพื่อการออมทรัพย์และการลงทุนมากกว่าการเป็นธนาคารพาณิชย์ การดำเนินของธนาคารในช่วงนี้ไม่สามารถแสดงออกอย่างเปิดเผยได้ว่าเป็นธนาคารที่ดำเนินการตามหลักศาสนาอิสลาม
หรือธนาคารอิสลาม เนื่องจากขัดกับนโยบายของรัฐบาล
ต่อมาในปี พ.ศ.2517 องค์กรกลุ่มประเทศอิสลาม (Organization of Islamic Countries : OIC) ได้ร่วมกันจัดตั้งธนาคารอิสลามเพื่อการพัฒนา (Islamic Development Bank : IDB) ขึ้นที่ เมืองญิดดะฮ์ ประเทศซาอุดีอารเบีย มีวัตถุประสงค์เพื่อการสนับสนุนด้านการเงินสำหรับโครงการเพื่อการพัฒนาในกลุ่มประเทศสมาชิก โดยยึดหลักศาสนาอิสลามอย่างเปิดเผยและชัดแจ้ง ซึ่งต่อมาบรรยากาศทางการเมืองในประเทศมุสลิมได้เปลี่ยนแปลงไป การดำเนินงานธนาคารอิสลามจึงไม่เป็นสิ่งที่ต้องปกปิดอีกต่อไป ธนาคารอิสลามจึงได้แพร่หลายไปในกลุ่มประเทศมุสลิมต่าง ๆ จนปัจจุบัน ประเทศปากีสถาน อิหร่าน ซูดาน ได้ยกเลิกระบบธนาคารปกติ (Conventional Banking) มาใช้ธนาคารระบบอิสลามแทนทั้งประเทศ ส่วนประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม ได้มีการจัดตั้งสถาบันการเงินที่ดำเนินการตามหลักศาสนาอิสลามเป็นจำนวนมากขึ้นตามลำดับ เช่น
ที่อังกฤษ ซึ่งเป็นตลาดเงินระบบอิสลามที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
มี Barclay Capital , HSBC Amanah Finance, ANZ International Merchant Banking,London. Citibank International Plc.,London. ฯลฯ
สหรัฐอเมริกา มี HSBC.USA, Bank Sepa.Iran ฯลฯ ฝรั่งเศส มี Societe General ,
BNP Paribars
เยอรมัน มี Commerz Bank , Deutsche Bank
สวิตเซอร์แลนด์ มี Dar Al Maal Al Islami, United Bank of Switzerland (UBS)
เป็นต้น
หลักการของธนาคารอิสลาม : หลักการที่สำคัญของอิสลามเกี่ยวกับระบบธนาคารคือการห้ามเรื่องดอกเบี้ย (Riba) ทั้งการรับและการให้ ซึ่งปรากฏชัดเจนใน
อัลกุรอาน (2:275)
“อัลลอฮฺอนุมัติการค้า และห้ามดอกเบี้ย” (2:276) “อัลลอฮฺตัดสิทธิ์ดอกเบี้ยจากความกรุณาทั้งปวง แต่จักเพิ่มพูนสำหรับการบริจาค” และอื่นๆ อีกพอสรุปได้ 5 ประเด็น คือ
1. ดอกเบี้ยจะกีดกันไม่ให้ได้รับความจำเริญจากอัลลอฮฺ
2. ประณามดอกเบี้ยว่าเป็นสิ่งที่พรากเอาไปจากทรัพย์สินของผู้อื่น อย่างไม่ถูกต้อง
3. ให้มุสลิมอยู่ห่างจากดอกเบี้ย เพื่อประโยชน์แห่งความดีของตัวเอง
4. ให้ความหมายที่บ่งบอกถึงความแตกต่างระหว่างดอกเบี้ยและการค้า
5. สนับสนุนให้มุสลิมเอาเฉพาะเงินต้นคืน อีกทั้งให้ยกหนี้หากลูกหนี้ไม่สามารถใช้หนี้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ อัลลอฮฺได้กำชับว่า ผู้ที่ละเลยไม่คำนึงถึงข้อห้ามเกี่ยวกับดอกเบี้ย เป็นการทำสงครามกับพระองค์ และศาสดา มูฮำหมัด (ซ.ล)
หลักการของศาสนาอิสลามเน้นความเป็นธรรมในสังคม จะเห็นได้ว่าการกำหนดดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่ตายตัวของสถาบันการเงิน ย่อมทำให้ผู้กู้เงินแบกรับความเสี่ยงตามลำพัง ธนาคารต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยเงินฝากโดยคิดดอกเบี้ยสูงจากผู้กู้ ผู้ฝากเงินไม่ต้องรับภาระใด ๆ ดังนั้นการที่เจ้าของเงิน ธนาคาร และผู้ฝากเงินร่วมรับภาระและความเสี่ยง
แบ่งปันผลกำไรจากการดำเนินงาน จะสร้างความเป็นธรรมและสร้างเสถียรภาพแก่ทุกฝ่าย โดยเฉพาะสถาบันการเงินได้ดีกว่าระบบการให้กู้ยืมโดยการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่แน่นอนตายตัว
ในเมื่ออิสลามได้ห้ามเรื่องดอกเบี้ย(ริบา) ทางออกของธนาคารอิสลาม จึงเป็น
“ ธนาคารเพื่อการค้าและการลงทุน ” และให้บริการต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย
ภายใต้กฎของศาสนาอิสลาม (Shariah) รูปแบบการประกอบธุรกิจ
ของธนาคารอิสลาม การประกอบธุรกิจของธนาคารอิสลามโดยทั่วไป จะมีความแตกต่างกับธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินต่าง ๆ
เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยและธุรกรรมที่ต้องห้ามตามหลักศาสนาอิสลาม
ธุรกรรมโดยทั่วไป มี
1. การรับฝากเงิน โดยทั่ว ๆ ไปธนาคารอิสลามจะรับฝากเงินจากลูกค้าใน 2 ลักษณะ
คือ :
1.1 รับฝากเพื่อการรักษาทรัพย์ (Safe Custody) ธนาคารรับฝากเงินจากลูกค้าเพื่อการรักษาทรัพย์สินให้ปลอดภัย และยินยอมให้ธนาคารนำเงินดังกล่าวไปลงทุนได้ ส่วนผลตอบแทนที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นของธนาคาร (โดยทั่วไปธนาคารที่ได้ดำเนินการมาแล้วในประเทศต่าง ๆ จะจ่ายผลตอบแทนให้เป็นของขวัญ แต่ไม่ได้เป็นเงื่อนไขที่ธนาคารต้องจ่าย) ธนาคารจะรับประกันเงินฝากทั้งหมดและคืนเงินเต็มจำนวนเมื่อลูกค้าทวงถาม ธนาคารในระบบอิสลามเรียกเงินฝากประเภทนี้ว่า อัล-วะดีอะห์ (Al Wadiah) มีบัญชี 2 ประเภทคือ
- บัญชีกระแสรายวัน (Current Account)
- บัญชีออมทรัพย์หรือสะสมทรัพย์ (Savings Account)
1.2 รับฝากเพื่อนำเงินไปลงทุน (Investment) ธนาคารรับฝากเงินจากลูกค้าเพื่อนำเงินไปประกอบการค้าหรือลงทุน โดยแบ่งผลตอบแทนจากกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายของธนาคาร ในอัตราส่วนที่ได้ตกลงกันตอนฝากเงิน หรือในกรณีขาดทุน ผู้ฝากเงินรับภาระในส่วนเงินลงทุนเท่านั้น ธนาคารจะรับภาระค่าบริหารจัดการทั้งหมดและไม่สามารถจะไปหักจากเงินฝากของลูกค้าได้ เงินฝากประเภทนี้เรียกว่า อัล-มูฎอรอบะห์ (Al Mudarabah) ซึ่งมีบัญชีสำหรับการลงทุนทั่วไปของธนาคารหรืออาจมีบัญชีเพื่อการลงทุนเฉพาะโครงการใดโครงการหนึ่งก็ได้2. การให้สินเชื่อและการลงทุน การให้สินเชื่อของธนาคารอิสลาม นอกจากจะพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของโครงการ โอกาสของธุรกิจ ความสามารถในการชำระหนี้คืนของลูกหนี้ ผลตอบแทนที่ธนาคารจะได้รับจาการให้สินเชื่อ และปัจจัยอื่น ๆ เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์โดยทั่วไปแล้ว

ธนาคารอิสลามจะต้องพิจารณาถึงประโยชน์ของการให้สินเชื่อที่จะเกิดแก่ผู้กู้และสังคมโดยรวมด้วย ไม่เป็นการให้กู้ยืมเพื่อสนองความต้องการอุปโภคบริโภคที่ฟุ่มเฟือย ไม่เป็นกิจการที่ต้องห้ามตามหลักศาสนาอิสลาม เช่น กิจการที่เกี่ยวข้องกับสุรา สถานบันเทิง การพนัน เป็นต้น มีรูปแบบการให้สินเชื่อและการลงทุนโดยทั่วไปดังนี้
2.1 สินเชื่อโครงการ ภายใต้หลัก อัล มูฎอรอบะห์ Al Mudarabah (Trust Financing) ธนาคารจะเป็นผู้ลงทุนด้านการเงินเองทั้งหมด ลูกค้าหรือเจ้าของโครงการเป็นผู้บริหารจัดการ โดยแบ่งกำไรตามอัตราส่วนที่ได้ตกลงกันไว้ ในกรณีขาดทุน ผู้ฝากเงินรับภาระขาดทุน ธนาคารรับภาระในส่วนค่าใช้จ่ายของ ธนาคาร ลูกค้ารับภาระค่าบริหาร
2.2 สินเชื่อโครงการ ภายใต้หลัก อัล มูชารอกะห์ Al Musharaka (Venture capital finance) ธนาคารลงทุนเงินร่วมกับลูกค้าในฐานะหุ้นส่วน โดยตกลงอัตราส่วนแบ่งกำไรไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนได้ ในกรณีขาดทุนทุกฝ่ายรับภาระตามสัดส่วนการลงทุน

2.3 สินเชื่อเพื่อการจัดหาทรัพย์สิน ภายใต้หลักอัล มูรอบาฮะห์ Al Murabaha (Cost plus financing) เป็นสินเชื่อที่ธนาคารจะจัดหาทรัพย์สินหรือสินค้าตามที่ลูกค้าต้องการ โดยบวกเพิ่มกำไร เสนอขายแก่ลูกค้าพร้อมเงื่อนไขในการชำระเงินให้ลูกค้าพิจารณา ลูกค้าจะชำระค่าสินค้าหรือทรัพย์สินตามสัญญาเท่านั้น ไม่บวกเพิ่มดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าซื้อทั่วไป

2.4 สินเชื่อเพื่อสิทธิในการใช้บริการของทรัพย์สิน ภายใต้หลัก อัล อิญาเราะห์ Al Ijara (Leasing) ธนาคารจัดหาทรัพย์สินให้ลูกค้าเช่าตามความจำนงของลูกค้า โดยมีระยะเวลาและอัตราค่าเช่าที่แน่นอน เมื่อครบระยะเวลาเช่าลูกค้าต้องส่งมอบทรัพย์สินคืนหรือซื้อทรัพย์สินนั้น ในกรณีที่ระบุไว้ในสัญญา
2.5 สินเชื่อเพื่อการสงเคราะห์และช่วยเหลือ ภายใต้หลักก็อด อัล หะซัน Qard Al Hasan ธนาคารให้สินเชื่อโดยไม่คิดผลตอบแทนหรือกำไรจากลูกค้า เป็นการให้สินเชื่อเพื่อช่วยเหลือและสงเคราะห์ เช่นสินเชื่อเพื่อการศึกษา สินเชื่อเพื่อผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ

2.6 สินเชื่อเพื่อการค้า (Trade financing) เป็นการให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจของลูกค้า ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขาย การส่งออก นำเข้าสินค้า เครื่องจักร การจัดหาวัตถุดิบ อะไหล่ เช่น การซื้อขายล่วงหน้าภายใต้หลัก Bai Al Salam, Letter of credit, Letter of guarantee, Islamic export credit refinancing, Islamic accept bills
เป็นต้น

3. บริการอื่น ๆ เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ ที่ไม่ขัดต่อหลักของศาสนาอิสลาม เช่น บริการโอนเงิน บริการเรียกเก็บเงินตามตราสาร ซื้อขายเงินตราต่างประเทศ บริหารจัดการเงินกองทุน เป็นต้น
นอกจากธนาคารอิสลามได้แพร่หลายและได้รับการยอมรับโดยมีการจัดตั้งทั่วไปแล้ว ได้มีประเทศต่าง ๆ ที่ไม่มีธนาคารอิสลาม แต่ได้ใช้สินเชื่อระบบอิสลาม เช่น

บริษัทอุตสาหกรรมของเกาหลี 3 บริษัท ได้รับสินเชื่อในปี 2542-2543 จากธนาคารอิสลามในลอนดอน จำนวน 147 ล้านเหรียญหรือประมาณ 6,321 ล้านบาท แล้ว หลักการ อิสลามได้ถูกนำมาใช้ในธุรกิจประกันชิวิต-ประกันภัย (Takaful) กองทุนร่วมลงทุน (Islamic mutual fund) ตลาดทุน (Islamic index) อีกด้วย
และได้รับการจัด Islamic finance awards โดย Euromoney Magazine ฉบับเดือน มกราคม 2546 มีรายละเอียดดังนี้
Best at Islamic bonds : Aseambankers (Maybank Malaysia)
Best in Islamic project finance : Shamil Bank (Bahrain)
Most innovative Islamic finance house : First Islamic Investment Bank (Bahrain)
Best at takaful : Takaful Nasional (Malaysia)
Best at Islamic leasing : Kuwait Finance House (Kuwait)
Best at Islamic commodities dealing : Al-Rajhi Bank (Saudi Arabia)
Best at Islamic asset management : National Commercial Bank (UAE)
Best at Islamic retail bank : Maybank (Malaysia)
Best Islamic commercial bank : Bahrain Islamic Bank (Bahrain)------
นภดล เต๊ะหมาน รวบรวมและเรียบเรียง
คัดลอกจาก: Thaiislamiccenter.com
ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนจากการเป็นหนี้ หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม
สามารถโทรแจ้งได้ที่ศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติ
โทร 02-3191161, 02-3191162, 02-3191163, 02-3191164
หรือ ปรึกษา เว็บบล๊อคเก่อร์  
สอบถามรายละเอียด ที่...

084-676-5997 DTAC

086-059-9633 AIS
082-721-4898 DTAC
080-901-5304 TRUE
083-689-7704 TRUE
หรือส่งรายละเอียด.. ที่
no.debt52@gmail.com
dj.jeab52@hotmail.com
(เด็บเต่อร์ รันเน่อร์)

วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ธนาคารอิสลาม ความหวังใหม่ของผู้ประสบภัยเศรษฐกิจ
















Muslimthai Focus :
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
ให้รีไฟแนนซ์กระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 52












ปัจจุบันธนาคารอิสลามแห่งปะเทศไทย มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคลัง เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2546

คุณสัญญา ปรีชาศิลป์ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม กับสำนักข่าวมุสลิมไทยว่าโครงการดังกล่าวนี้ ทางธนาคารอิสลามได้ดำเนินนโยบายให้สอดคล้องกับรัฐบาลในการกระตุ้นเศรฐกิจ
พร้อมกันนั้น ทางธนาคารยังมีแผนในการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมให้บุคคลทั่วไป ทั้งมุสลิมและต่างศาสนา ได้มีความเข้าใจในบริการต่างๆ ของธนาคารมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย มีบริการต่างๆ อีกมากมายที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้ามาขอรับบริการได้

คุณสัญญา ปรีชาศิลป์ผู้จัดการส่วนสื่อสารองค์กรฝ่ายส่งเสริมธุรกิจและสื่อสารองค์กร
พร้อมเน้นย้ำว่า ธนาคารอิสลามมีความมั่นคงในเรื่องการดำเนินธุรกิจต่างๆ เป็นอย่างมาก
อีกทั้งสำหรับลูกค้ามุสลิมนั้น มั่นใจได้ว่า ธนาคารของเราไม่มีเรื่องของดอกเบี้ยแน่นอน ซึ่งเป็นจุดแข็งที่แตกต่างจากธนาคารอื่นๆ ทั่วไป

ปัจจุบันธนาคารอิสลามเห่งประเทศไทย มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ อาคารคิวเฮ้าส์ อโศก ถนนสุขุมวิท 21 และมีสาขารวม 26 สาขาทั่วประเทศ
ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนจากการเป็นหนี้ หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม
สามารถโทรแจ้งได้ที่ศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติ
โทร 02-3191161, 02-3191162, 02-3191163, 02-3191164
หรือ ปรึกษา เว็บบล๊อคเก่อร์ 

สอบถามรายละเอียด ที่...

082-721-4898 DTAC
080-901-5304 TRUE
083-689-7704 TRUE
084-676-5997 DTAC  
086-059-9633 AIS

หรือส่งรายละเอียด.. ที่
no.debt52@gmail.com
dj.jeab52@hotmail.com

(เด็บเต่อร์ รันเน่อร์)

วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2552

บสก. แจกห้องชุด ยูนิต ละ 10 บาท




แจกจริง ไม่ผิดหวัง

บ.บริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.)
จัดงาน BAM BIG THANKS
ฉลองครบรอบ 10 ปี เหล่าศิลปินดารา
ร่วมลุ้นโปรโมชั่นพิเศษ”ลุ้นคอนโดฯ ยูนิตละ 10 บาท รวม 10 ยูนิต” ที่ฮอลล์ 1 เมืองทองธานี กิจกรรมบันเทิงสร้างความรื่นเริงใจให้ตลอดทั้งวัน “บ้าน” เป็นปัจจัยสี่ ที่ใครๆก็อยากเป็นเจ้าของ แต่ดาราบางคนภายในงาน เช่น เอ๋-พรทิพย์ แหม…รู้นะว่าอยากมีเรือนหอรอรัก สักหลังอ่ะอ้า! ก็เลยรีบมาขอเทคนิคการเลือกซื้อบ้านจากทีมกูรูผู้รู้ เรื่องบ้านจากงานนี้ นอก จากนี้ก็มี เก๋-ชลลดา, อ้น-ศรีพรรณ, เต๋า-สโรชา คอยเอียงหูฟังอยู่ใกล้ๆ ต่อด้วยฟรีคอนเสิร์ตจากศิลปินดัง บิว-กัลยาณี, นัท มีเรีย, เป๊ก-ผลิตโชค แค่นี้ก็มันส์สะเด็ดยาดแล้วล่ะ
แต่เจ้าภาพ บรรยง วิเศษมงคลชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ (บสก.) รวมพล “เอเอฟ”ทั้งตระกูล ตั้งแต่รุ่น 1-4 มาให้สนุก โยกกันจนมันส์.

ปลดล็อก ลูกหนี้ที่ถูกขายทอดตลาด ภาระหนี้ไม่จบสิ้น!


กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.)
กระทุ้งรัฐบาลหันมาดูแลลูกหนี้ที่ถูกขายทอดตลาด ภาระหนี้ไม่จบสิ้น! เหตุขายได้ เจ้าหนี้ไปหักดอกเบี้ยนอกบัญชีแทนเงินต้น ผู้บริหาร บสก.หนุนแนวคิดตีโอนทรัพย์ก่อนสู่ขั้นศาล แต่ลูกหนี้ต้องจริงใจ “อธิบดีกรมบังคับคดี” ครวญได้แค่เห็นใจลูกหนี้

นางกัลยาณี รุทระกาญจน์
เลขาธิการศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติ

กล่าวยอมรับว่า ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ลูกหนี้จำนวนมากๆ จะไม่รู้เลยว่า เมื่อมีการนำทรัพย์ขายทอดตลาด ก็คิดว่าหนี้หมดไปแล้ว ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่เช่นนั้น เพราะว่ารายได้จากการขายทรัพย์ เจ้าหนี้กลับนำไปหักกลบดอกเบี้ยที่พักไว้นอกบัญชี ไม่มีการนำไปตัดเงินต้น ซึ่งสุดท้ายแล้ว ลูกหนี้ก็ยังมีภาระหนี้ติดตามตัวไปตลอด
“ ลูกหนี้ต้องรักษาสิทธิ์ของตนเอง โดยการไปดูบัญชีทรัพย์ หลังจากมีการขายทอดตลาด ก็จะรู้ว่า ได้รับความเป็นธรรมหรือไม่ ”
นางกัลยาณีกล่าวและเสนอว่า ธนาคารพาณิชย์ควรจะลดหรือตัดดอกเบี้ยที่อยู่นอกบัญชี เพราะส่วนนี้ เป็นตัวเลขในอนาคต เป็นตัวเลขในอากาศ เป็นความร่ำรวยของธนาคารพาณิชย์ ที่ยังไม่มีการรรับรู้รายได้ ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อฐานะหรือเงินกองทุนของธนาคาร ในขณะเดียวกัน ในเรื่องของหลักประกันแล้ว ตรงนี้เป็นความสูญเสียของลูกหนี้และต่อความมั่นคงของประเทศ เนื่องจากเวลาประมูลของกรมบังคับคดีจะยึดหลักราคาที่กรมที่ดินประกาศ โดยเป็นราคาที่กรมธนารักษ์เป็นผู้ประเมินจากภาพถ่ายทางอากาศ และเป็นเกณฑ์ราคาที่สำหรับใช้อ้างอิงในการเสียภาษี แต่หากเป็นราคาของกรมที่ดินแล้ว วัตถุประสงค์ที่ใช้อ้างอิงก็เพื่อซื้อขายและจำนอง นั่นจึงทำให้ราคาของทรัพย์ที่กรมบังคับคดีนำออกประมูลจะต่ำ ขณะที่หลักประกันของลูกหนี้ที่ใช้วางค้ำกับธนาคารพาณิชย์จะมีการประเมินราคาที่สูง แต่ผลจากการใช้ราคาประเมินของกรมธนารักษ์ มีผลให้หลักประกันของลูกหนี้ในปัจจุบันลดลงจนอาจไม่คุ้มมูลหนี้
“ความฉลาดของใครบางคน ที่มีการเปลี่ยนวัตถุประสงค์ของราคาที่ดิน เลยเป็นช่องให้มีบริษัทของนักการเมืองเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ ในการชอปประมูลทรัพย์จากกรมบังคับคดี ”
เลขาธิการฯกล่าว นายแบงก์ชี้ ตีโอนทรัพย์ต้องโปร่งใส
นายบรรยง วิเศษมงคลชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด ( บสก. ) กล่าวเห็นด้วยว่า หากทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้สามารถที่จะเคลียร์หนี้ หรือลูกหนี้มีการโอนทรัพย์ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ โดยทั้งสองฝ่ายบรรลุในความเห็นเกี่ยวกับหนี้ก้อนนี้ได้ ก็จะเป็นการดี เพราะว่าสุดท้ายแล้ว ลูกหนี้จะได้มีโอกาสทำธุรกิจต่อ ชื่อหรือประวัติจะได้ไม่ติดอยู่ในรายการของเครดิตบูโร ต่างคนจะได้มีโอกาสทำธุรกิจได้ตามปกติ
“ เราเข้าใจหากลูกหนี้คุยจบก่อนต้องใช้กฎหมายก็จะเป็นเรื่องดี เพราะว่าถ้าให้ สถาบันการเงินนำทรัพย์ที่ยึดมาไปขาย ลูกหนี้ก็ต้องมีภาระอยู่ดี แต่ประเด็นที่ต้องชัดมีอยู่ว่า ลูกหนี้ต้องบริสุทธิ์ใจ ไม่ใช่มีหลักประกันซ่อนอยู่อีก และถ้าในอนาคตมีการตรวจสอบได้อีกว่า ลูกหนี้รายนั้นๆ ยังมีหลักประกัน ก็ให้ถือว่าสัญญาที่ทำไว้ก่อนหน้าเป็นอันโมฆะ ”
นายบรรยงกล่าวและว่า สำหรับบสก.แล้ว สิ่งที่เราจะเรียกว่าเป็นผลสำเร็จของการทำธุรกิจคือ สามารถที่จะผลักดันการขายทรัพย์ที่มีอยู่เป็นกระแสเงินสดเข้ามา ไม่ใช่ยังค้างอยู่ในบสก. นั้นจึงเป็นที่มาของโครงการ “คืนทรัพย์ให้คุณ” โดยเป็นช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย ทั้งที่มีการใช้มาตรการทางกฎหมายแล้ว และที่ยังไม่ได้ใช้มาตรการทางกฎหมาย เป็นโครงการที่ไถ่ถอนหลักประกันคืนได้ โดยการชำระหนี้จากลูกหนี้/ ผู้ค้ำประกันจำนอง/ ทายาท /หรือบุคคลภายนอก โดยภาระหนี้เงินต้นต่อรายต่อกลุ่มไม่เกิน 5 ล้านบาท
ซึ่งหากมีการชำระเสร็จสิ้นครั้งเดียวต้องชำระไม่ต่ำกว่า 70% ของราคาประเมินหลักประกัน หากชำระหนี้โดยการผ่อนชำระ ต้องชำระไม่ต่ำกว่า 80% ของราคาประเมินหลักประกันภายในเวลาไม่เกิน 5 ปี และงดคิดดอกเบี้ย เป็นต้น
บิ๊กกรมบังคับคดียัน!ทำตามหน้าที่ นายสิรวัต จันทรัฐ อธิบดีกรมบังคับคดี เปิดเผยว่า กรมฯในฐานะหน่วยงานของรัฐบาล ก็คงต้องปฎิบัติตามกฎหมาย และเมื่อศาลมีการสั่งตามคำร้องของโจทย์และมีการบังคับหลักประกัน ทางกรมฯจะต้องไปดำเนินการ และจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ก็ส่งผลให้สถาบันการเงินมีการดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในช่วง2550 จนถึงปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นเป็นจำนวนมาก
“แม้เราจะถูกมองไม่ดี แต่เราในฐานะเจ้าพนักงานก็ต้องทำตามหน้าที่ แม้เราจะเห็นใจผู้ที่เดือดร้อน แต่ทุกอย่างก็ต้องว่ากันไปตามกฎหมายอย่างเช่น คดีแพ่งที่ค้างอยู่หลายแสนล้าน เราก็ต้องเร่งรัดจำหน่ายออกไป เพราะว่า ถ้าไม่รีบ ทรัพย์ที่ค้างอยู่ก็ไม่ก่อผลต่อระบบเศรษฐกิจ มูลค่าของบ้าน ทรัพย์สินก็จะหายไป เจ้าหนี้ไม่ได้รับเงิน ดังนั้น เราจะทำอย่างไรที่จะเร่งรัดการผลักดันทรัพย์ออกไปให้มากและเร็ว ควบคู่ไปความโปร่งใสของการทำงาน ”
อนึ่ง สำหรับหลักการขายทอดตลาดนั้น ทางกรมบังคับคดีมีการระบุไว้อย่างชัดเจน เช่น ถ้าราคาสมควรขาย ต่ำกว่า 50,000 บาท เพิ่มราคาไม่น้อยกว่าครั้งละ 1,000 บาท เกิน 1-5 ล้านบาท เพิ่มราคาไม่น้อยกว่าครั้งละ 50,000 บาท และหากราคาสมควร 80 ล้านบาทขึ้นไป เพิ่มราคาไม่น้อยกว่าครั้งละ 1 ล้านบาท โดยในการขายทอดตลาด ให้เจ้าพนักงานกำหนดราคาเริ่มต้นเป็นจำนวน 80% ของราคาตามที่เจ้าพนักงานแจ้งราคาประเมินขณะยึดหรือราคาประเมินของฝ่ายประเมินราคาสำนักงานวางทรัพย์กลาง(ถ้ามี) โดยให้ปัดตัวเลขที่เป็นเศษขึ้นเป็นเรือนหมื่น เช่น ราคาประเมินสูงสุด 1,340,000 บาท ราคาเริ่มต้นที่ 1,080,000 บาท เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ขายทอดตลาดในครั้งแรก ไม่สามารถดำเนินการได้หรือมีการคัดค้าน การประมูลครั้งที่สอง จะเริ่มในราคา 50% ของราคาประเมินแต่ต้องไม่น้อยกว่าราคาที่มีผู้เสนอสูงสุดในครั้งก่อน ทั้งนี้ ผู้ซื้อทรัพย์จะต้องวางเงินเป็นประกันในการเสนอราคาต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นจำนวนเงินคนละ 50,000 บาท หรือตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เป็นกรณีพิเศษ และหากผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดไม่วางเงินตามเงื่อนไข และเจ้าพนักงานบังคับคดีนำทรัพย์นั้น ขายทอดตลาดใหม่ ได้ราคาต่ำกว่าราคาที่ผู้ซื้อเดิมให้ไว้ ผู้ซื้อเดิมจะต้องรับผิดชอบในส่วนที่ขาดพร้อมทั้งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
สอบถามรายละเอียด
โทร 02-3191161, 02-3191162, 02-3191163, 02-3191164
785 อาคารฐมศร ถนนพระรามเก้า ห้วยขวาง กทม 10320
หรือ ขอคำแนะนำ เบื้องต้น จาก เว็บบล๊อคเก่อร์ 086-059-8955 (เด็บเต่อร์ รันเน่อร์)

กทม ใช้สำนักงานเขต เปิดรับสมัครลูกหนี้ที่มีปัญหา



กทม.เตรียมจัดโครงการสินทรัพย์สุดท้ายของประชาชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


กรุงเทพมหานคร เตรียมแก้ปัญหาหนี้สินให้ลูกหนี้รายย่อยในโครงการสินทรัพย์สุดท้ายของประชาชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัย

นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กทม.ร่วมกับ ศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติ สถาบันการเงิน จัดแก้ปัญหาหนี้สินให้ลูกหนี้รายย่อย โดยใช้ชื่อโครงการว่าสินทรัพย์สุดท้ายของประชาชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะเน้นช่วยเหลือประชาชนผู้เดือดร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัย โดยให้ทุกสำนักงานเขตเปิดรับลงทะเบียนประชาชนที่เดือดร้อนเรื่องหนี้สินช่วงต้นเดือนพฤษภาคมนี้ เพื่อรวบรวมข้อมูลลูกหนี้ที่เกี่ยวกับอาคารที่อยู่อาศัย บัตรเครดิต และลูกหนี้นอกระบบ แต่จะมุ่งเน้นด้านที่อยู่อาศัยเป็นอันดับแรกเพื่อสนองเจตนารมณ์ของ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ไม่ต้องการให้ประชาชนเสียที่อยู่อาศัย เพราะถือเป็นเรื่องร้ายแรงของครอบครัว โดยเบื้องต้นคาดว่ามีลูกหนี้รายย่อย ที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือ 50,000 ราย และมีมูลค่าสูงถึง 1 แสนล้านบาท นอกจากนี้กทม.จะมีการจ้างงานนักศึกษาที่จบใหม่ ในสาขาบัญชี เศรษฐศาสตร์ และการเงิน เพื่อรับผิดชอบแบ่งกลุ่มลูกหนี้และจัดอันดับความรุนแรงให้แก่ลูกหนี้แต่ละราย โดยลูกหนี้รายใดที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจะถูกเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยของกรมบังคับคดีที่จัดตั้งโดยกระทรวงยุติธรรม แต่หากเป็นหนี้ที่ถูกต้องจะใช้วิธีการประนีประนอมขอผ่อนผันในการลดดอกเบี้ย ลดเงินต้น หรือวิธีอื่นที่ลูกหนี้สามารถมีที่อยู่อาศัยต่อไปได้

ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนจากการเป็นหนี้ หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม
สามารถโทรแจ้งได้ที่ศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติ
โทร 02-3191161, 02-3191162, 02-3191163, 02-3191164
หรือ ปรึกษา เว็บบล๊อคเก่อร์ 086-059-8955 (เด็บเต่อร์ รันเน่อร์)

ต่อสู้อย่างไร จึงชนะ พี่เค๊าเล่าเรื่อง

  • เหยื่อฟองสบู่แตก ปี 2540 - เรื่องนี้เป็นเรื่องของหลานชาย ค่ะ แต่ก็เกี่ยวกับเราเต็มๆได้เริ่มกู้เพื่อที่อยู่อาศัย ก่อนหน้าแบงค์ชาติประกาศ งดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ไม่กี่วัน ไม่มีใครร...
    15 ปีที่ผ่านมา