ลูกหนี้เมาส์ กระจาย หน้าซีบอกซ์ คุยกันสดๆ เลย ขอรับ

วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ทางออกสำหรับคนจะโดนยึดรถ: ทางออกคนมีรถที่กำลังจะถูกยึด

ทางออกสำหรับคนจะโดนยึดรถ: ทางออกคนมีรถที่กำลังจะถูกยึด: อ่านเจอในเวปบอร์หลายๆแห่งแล้วเห็นใจผู้บริโภคด้วยกันครับเพราะผมทราบและเข้าใจว่า คนเราเมื่อตัดสินใจซื้อรถซักคัน คงไม่มีใครอยากโดนยึด คงไม่มีใค...

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

กองทุนเงินออม

กองทุนเงินออม อีกทางหนึ่งของการต่อสู้หนี้นอกระบบ


สิทธิสมัครกองทุนการออมแห่งชาติบ้าง?
1 เป็นบุคคลสัญชาติไทย อายุตั้งแต่15 ปี ถึงไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์
2 ไม่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข)
3 ไม่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร
4 ไม่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น
5 ไม่เป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคม
6 ไม่เป็น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
7 ไม่เป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
8 ไม่เป็นสมาชิกกองทุนอื่นหรืออยู่ในระบบบำนาญอื่นตามที่จะกำหนดกฎกระทรวง
การจ่ายเงินสะสมเมื่อเป็นสมาชิกและเงินสะสมของภาครัฐ
สมาชิกกองทุนการออมจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 50 บาท และไม่เกิน 13,200 บาทต่อปี โดยรัฐจ่ายสมทบให้ตามสัดส่วนดังนี้
1.อายุ 15-30 ปี รัฐจ่ายให้ 50% ของเงินสะสม แต่ไม่เกิน 600 บาทต่อปี
2.อายุ 30-50 ปี รัฐจ่ายให้ 80%ของเงินสะสม แต่ต้องไม่เกิน 960 บาทต่อปีและ
3.อายุมากกว่า 50 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี รัฐจะสมทบจ่ายให้ 100% ของเงินสะสม แต่ไม่เกิน 1,200 บาทต่อปี
การจ่ายเงินให้แก่สมาชิก
มี 2 กรณีคือ
1. กรณีที่สมาชิกสิ้นสมาชิกภาพเพราะอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ จะได้รับบำนาญจากเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์จากเงินดังกล่าว ไปตลอดอายุขัย และคืนเงินให้กับผู้มีสิทธิรับผลประโยชน์ หากยังมีเงินคงเหลืออยู่ในบัญชีของสมาชิกผู้นั้น
2. กรณีที่สมาชิกทุพพลภาพก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ สมาชิกจะขอรับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสมทั้งหมดหรือบางส่วนจากกองทุนก็ได้ โดยให้ขอรับได้เพียงครั้งเดียว
ส่วนเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจะจ่ายเป็นบำนาญให้สมาชิกเมื่ออายุครบ 60 ปี ซึ่งในกรณีที่สมาชิกคงเงินไว้ในกองทุนทั้งหมดหรือบางส่วน จะนำเงินที่คงไว้นี้มาคำนวณจ่ายบำนาญด้วย

กรณีที่สมาชิกเปลี่ยนงานและทำให้สมาชิกได้รับความคุ้มครองหรือหลักประกันทางรายได้เพื่อการชราภาพตามกฎหมายอื่นที่มีรัฐหรือนายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุน หรืออยู่ในระบบบำนาญใดๆ สมาชิกสามรถคงเงินไว้ในกองทุน และคงการเป็นสมาชิกต่อไป โดยไม่ต้องจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน และรัฐไม่ต้องจ่ายเงินสมทบให้

ทั้งนี้ รัฐบาลจะรับประกันให้สมาชิกได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการนำเงินสะสมและ เงินสมทบไปลงทุนไม่น้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำประเภท 12 เดือนโดยเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์แห่งใหญ่ 5 แห่ง ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
โดยจะคำนวณเปรียบเทียบผลตอบแทนที่ได้รับกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำดังกล่าวในวันที่สมาชิกสิ้นสมาชิกภาพเพราะอายุครบ 60 ปี หรือเสียชีวิต
สามารถสมัครสมาชิกได้ที่ใดบ้าง
1ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ
2ธนาคารออมสิน ทุกสาขาทั่วประเทศ
3ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ทุกสาขาทั่วประเทศ
แหล่งที่มา : http://money.sanook.com/296885/

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

หลักเกณฑ์การชำระหนี้ กยศ

การชำระหนี้คืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเป็นไปตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 และระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้


1.  ผู้กู้ยืมเงินที่มีหน้าที่ชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
          -  ผู้กู้ยืมเงินที่สำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษาแล้วเป็นเวลา 2 ปี นับจากปีที่สำเร็จการศึกษาหรือเลิกศึกษา (ครบระยะเวลาปลอดหนี้)
          -  กรณีผู้กู้ยืมเงินที่ไม่กู้ต่อเนื่องติดต่อกัน 2 ปี และไม่แจ้งสถานภาพให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมทราบ จะถือว่าเป็นผู้ครบกำหนดชำระหนี้และมีหน้าที่ต้องชำระหนี้คืนกองทุน

2.  หลักเกณฑ์การชำระหนี้
          2.1   ผู้กู้ยืมเงินต้องชำระเงินกู้ยืม พร้อมทั้งดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใดร้อยละ 1 ต่อปี โดยต้องคืนให้กองทุนให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี นับแต่วันที่ต้องเริ่มชำระหนี้
          2.2   ให้ผู้กู้ยืมเงินชำระหนี้งวดแรก ภายในวันที่ 5 กรกฎาคม หลังจากครบระยะเวลาปลอดหนี้ โดยให้ชำระหนี้คืนเฉพาะเงินต้นในอัตราร้อยละ 1.5 ของวงเงินที่ได้กู้ยืม
          2.3   การชำระหนี้งวดต่อๆไปให้ผู้กู้ยืมเงินชำระเงินต้นคืน ตามอัตราผ่อนชำระที่กองทุนกำหนด พร้อมด้วยดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด ในอัตราร้อยละ 1 ต่อปีของเงินต้นที่คงค้าง ภายในวันที่ 5 กรกฎาคมของทุกปี
          2.4   หากผู้กู้ยืมเงินผิดนัดชำระหนี้ ผู้กู้ยืมเงินจะต้องชำระค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ตามอัตราที่กองทุนกำหนด
          2.5   ผู้กู้ยืมเงินที่มีความประสงค์จะขอชำระหนี้คืนก่อนครบกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ หรือก่อนครบระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี สามารถชำระคืนได้โดยไม่เสียดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด

          หมายเหตุ   1. ให้ผู้กู้ยืมเงินไปติดต่อแสดงตน ขอชำระหนี้ และเลือกวิธีการผ่อนชำระเป็นรายปี หรือรายเดือนกับผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมได้ทุกสาขาก่อนที่จะครบระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี
                            2. กรณีผู้กู้ยืมเงินยังอยู่ในระหว่างการศึกษา แต่ไม่ได้กู้ยืมในปีการศึกษาใด ต้องแจ้งสถานภาพการศึกษาต่อผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมโดยให้นำใบรับรองจากสถานศึกษาไปแสดงทุกปีจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา


3.  วิธีการนับระยะเวลาการครบกำหนดชำระหนี้ของผู้ที่สำเร็จการศึกษา
ตัวอย่าง

          ผู้กู้ยืมเงินที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2556 มีระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี ผู้กู้ยืมเงินจะครบกำหนดชำระหนี้คืนภายในวันที่ 5 กรกฎาคม 2559 ดังนี้


4.  วิธีการและหลักฐานในการชำระหนี้
      4.1  ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม


4.2 บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
     4.3 บริษัท เคาน์เตอร์ เซอร์วิส จำกัด โดยผู้กู้ยืมจะสามารถชำระผ่านสาขาที่ให้บริการรับชำระเงินผ่านร้านสะดวกซื้อ (7-ELEVEN) และสาขาที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในร้านสะดวกซื้อ รวม 9,300 สาขา สำหรับงวดที่ครบกำหนดการชำระเงินวันที่ 5 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นไป
5.  ค่าธรรมเนียมลดยอดหนี้ ผู้กู้ยืมต้องจ่ายค่าธรรมเนียมลดยอดหนี้รายการละ 10 บาท ให้กับผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม

6.  อัตราการผ่อนชำระ


          ผู้กู้ยืมเงินสามารถเลือกผ่อนชำระหนี้เป็นรายปีหรือรายเดือน โดยจำนวนเงินต้นที่ชำระเป็นรายปีหรือรายเดือนรวมตลอดปีหรือต้องไม่ต่ำกว่าอัตราดังนี้

7.  ตัวอย่างแสดงการผ่อนชำระหนี้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาแบบระยะเวลาผ่อน 5 ปี  10 ปี  และ 15 ปี

8.  ดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด และค่าปรับหรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้
8.1  ดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด
          การคิดดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด ให้คิดตั้งแต่วันที่ครบกำหนดชำระหนี้ของเงินต้นที่เหลือหลังจากชำระงวดแรกแล้ว  โดยสามารถคำนวณดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด ได้ดังนี้

8.2  ค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้    
หากผู้กู้ยืมเงินผิดนัดชำระหนี้ ผู้กู้ยืมเงินต้องชำระค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ตามที่กองทุนกำหนด ดังนี้
          (1)  กรณีผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือน   หากค้างชำระตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไปแต่ไม่เกิน 12 เดือน ชำระค่าปรับหรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ ร้อยละ 1 ต่อเดือนของเงินต้นงวดที่ค้างชำระ หากค้างชำระเกิน 12 เดือน ชำระค่าปรับหรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ ร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินต้นงวดที่ค้างชำระทั้งหมด
          (2)  กรณีผ่อนชำระหนี้เป็นรายปี หากค้างชำระไม่เกิน 1 งวดชำระค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ร้อยละ 1 ต่อเดือนของเงินต้นงวดที่ค้างชำระ กรณีผ่อนชำระหนี้เป็นรายปี หากค้างชำระตั้งแต่ 1 งวดขึ้นไปชำระค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินต้นงวดที่ค้างชำระทั้งหมด
โดยสามารถคำนวณค่าปรับหรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ ได้ดังนี้

9.  หลักเกณฑ์การขอผ่อนผันชำระหนี้ 

หมายเหตุ :  ผู้กู้ยืมเงินที่มีความประสงค์ขอผ่อนผันการชำระหนี้ ให้ติดต่อขอผ่อนผันจากผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมโดยยื่นแบบ กยศ.202 และ กยศ. 203 และต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนวันที่ครบกำหนดชำระหนี้ แต่ละงวด หากผู้กู้ยืมเงินยังไม่ชำระและพ้นวันที่ครบกำหนดชำระไปแล้ว (5 กรกฎาคมของทุกปี) ถือว่าผู้กู้ยืมเงินค้างชำระหนี้จะต้องเสียค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ตามอัตราที่กองทุนกำหนดและจะถูกติดตามหนี้จนกว่าจะได้รับอนุมัติผ่อนผันชำระหนี้จึงระงับการติดตามและถือเป็นหนี้ปกติต่อไป

10.  การชำระหนี้คืนก่อนกำหนด
          ผู้กู้ยืมเงินที่มีความประสงค์จะขอชำระหนี้คืนก่อนครบกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ หรือ ก่อนครบกำหนดระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี สามารถชำระคืนได้โดยไม่เสียดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด

11.  การบอกเลิกสัญญา


          สิทธิในการบอกเลิกสัญญามี 2 กรณี คือ

          11.1 กรณีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจบอกเลิกสัญญา
                    11.1.1 เมื่อผู้กู้ยืมเงินมิได้แจ้งให้ธนาคารทราบเป็นหนังสือภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เปลี่ยนแปลงชื่อ หรือนามสกุล หรือสถานที่อยู่ หรือย้ายสถานศึกษา หรือสำเร็จการศึกษา หรือเลิกศึกษา
                    11.1.2 เมื่อผู้กู้ยืมเงินมิได้แจ้งให้ธนาคารทราบเป็นหนังสือภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ผู้กู้ยืมเงิน
เริ่มทำงาน และในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินย้ายที่อยู่ หรือเปลี่ยนงาน หรือสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเงินเดือนค่าจ้างทุก ๆ ครั้ง

                    11.1.3 เมื่อปรากฏภายหลังว่าผู้กู้ยืมเงินไม่มีสิทธิกู้ยืมเงิน หรือได้มีการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ
ในสาระสำคัญ

                    11.1.4 เมื่อผู้กู้ยืมเงินไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อตกลงข้อหนึ่งข้อใดที่ให้ไว้กับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
          การบอกเลิกสัญญาตามข้อ 10.1.1 - 10.1.4 นั้น กองทุนมีสิทธิเรียกเงินที่ผู้กู้ยืมเงินได้รับไปแล้วทั้งหมดตามสัญญาคืนในทันที             
                    11.1.5 เมื่อผู้กู้ยืมเงินลาออกไม่ศึกษาต่อ หรือถูกสถานศึกษาให้ออก หรือไล่ออกในระหว่างปีการศึกษา
          การบอกเลิกสัญญาตามข้อ 10.1.5 นั้น กองทุนมีสิทธิเรียกเงินที่ผู้กู้ยืมเงินได้รับไปแล้วทั้งหมดตามสัญญาคืนในทันที หรือภายในระยะเวลาที่กองทุน กำหนดไว้

          11.2  กรณีผู้กู้ยืมเงินบอกเลิกสัญญา
          ผู้กู้ยืมเงินมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้  โดยผู้กู้ยืมเงินจะต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมและสถานศึกษาทราบ  และผู้กู้ยืมเงินจะต้องชำระหนี้เงินกู้ที่ได้รับไปแล้วและยังมิได้ชำระคืน  รวมทั้งดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด (ถ้ามี) ให้แก่ผู้ให้กู้ยืมภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมได้รับแจ้งการบอกเลิกสัญญาดังกล่าว

12. ภาระความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกัน


          12.1  ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินผิดสัญญา ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดชำระหนี้เงินกู้ยืมคืนกองทุนในฐานะลูกหนี้ร่วมกับผู้กู้ยืมเงิน
          12.2  ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินได้รับการผ่อนผันระยะเวลา หรือผ่อนผันจำนวนเงินในการชำระหนี้ไม่ว่ากรณีใดๆ
โดยจะแจ้งหรือไม่ได้แจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบก็ตาม ให้ถือว่าผู้ค้ำประกันตกลงยินยอมด้วยในการผ่อนผันระยะเวลาหรือผ่อนผันจำนวนเงินในการชำระหนี้ทุกครั้ง

13. การระงับแห่งหนี้


          13.1  ชำระหนี้ครบตามสัญญา
          13.2  ผู้กู้ยืมเงินถึงแก่ความตาย
                    กรณีที่ผู้กู้ยืมเงินถึงแก่ความตายให้หนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นอันระงับไป (เฉพาะหนี้ก่อนตาย) โดยต้องส่งสำเนาใบมรณบัตร สำเนาทะเบียนบ้านของผู้กู้ยืมเงิน และสำเนาบัตรประชาชนของบุคคลที่นำมาแจ้งพร้อมทั้งเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ และเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อญาติของผู้กู้ยืมเงิน ให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมทราบ (สำเนาใบมรณบัตร หมายถึง ใบมรณบัตรที่รับรองโดยเขต/อำเภอที่ออกใบมรณบัตรนั้น)
                   กรณีที่มีการโอนเงินค่าเล่าเรียน และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาของผู้กู้ยืมเงินเข้าบัญชีสถานศึกษาหลังจากผู้กู้ยืมเงินถึงแก่ความตาย  ให้สถานศึกษานำเงิน เฉพาะจำนวนเงินที่โอนหลังตายคืนกองทุน
                   กรณีมีการโอนเงินค่าครองชีพของผู้กู้ยืมเงินเข้าบัญชีผู้กู้ยืมเงินหลังจากผู้กู้ยืมเงินถึงแก่ความตาย
ให้ทายาทนำเงินคืนกองทุน

14. การระงับการเรียกให้ชำระหนี้


          กรณีที่ผู้กู้ยืมเงินเงินพิการ หรือทุพพลภาพไม่สามารถประกอบการงานได้ ให้ส่งสำเนาสมุดประจำตัวคนพิการที่ออกโดยกรมประชาสงเคราะห์ให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม เพื่อเสนอกองทุนพิจารณาอนุมัติระงับการเรียกให้ชำระหนี้ต่อไป

คัดลอกจาก : http://www.studentloan.or.th/detail.php?cid=1452

ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค: ฟ้องศาลคดียิ่งจบเร็ว ลูกหนี้...ไม่ต้องกลัวถูกฟ้อง

ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผยข้อมูลหลัง ‘พ.ร.บ.ทวงหนี้’ บังคับใช้ ชี้ถึงไม่มี กม.คดีก็ยังล้นศาล ย้ำการถูกฟ้องไม่ใช่เรื่องน่ากลัว




ที่มา: ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
หลังจาก พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558  มีผลบังคับใช้ เจ้าหนี้หรือบริษัทที่ทำธุรกิจติดตามทวงถามหนี้ ออกมาให้ความเห็นในเชิงทำนอง ว่าจากเดิมที่ให้โอกาสลูกหนี้แก้ตัวเป็นปีคงไม่สามารถทำได้แล้ว เพราะการทวงหนี้อาจมีกระทบกระทั่งกันเกรงจะผิดกฎหมายจึงต้องฟ้องลูกหนี้เร็วขึ้น พ.ร.บ.ฉบับนี้อาจทำให้คดีล้นศาล มีต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ต้นทุนเหล่านั้นลูกหนี้ต้องรับผิดชอบ หรือเจ้าหนี้จะให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินยากขึ้น เป็นต้น
แม้ไม่มี พ.ร.บ.ติดตามทวงหนี้ ลูกหนี้ถูกฟ้องคดีเพียบ
ต้องบอกว่าปัจจุบันแม้ไม่มี พ.ร.บ.ฉบับนี้คดีเรื่องหนี้ ล้นศาลอยู่ก่อนแล้ว เนื่องจากมีบริษัทหรือสำนักงานกฎหมายซื้อหนี้จากสถาบันการเงินมาบริหารจัดการ โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ทั้งที่ตามกฎหมายกำหนดให้เรียกร้องภายในอายุความ เช่น บัตรเครดิต 2 ปี และสินเชื่อส่วนบุคคลภายใน 5 ปี แต่เจ้าหนี้กลับไม่ฟ้องภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อหนี้ที่ซื้อมาขาดอายุความ ก็ส่งฟ้องศาล ลูกหนี้ไม่ทราบจึงไม่ได้ต่อสู้คดีเรื่องคดีขาดอายุความ ศาลต้องพิจาณาไปตามกระบวนการ ลูกหนี้จึงควรรู้ว่าเมื่อตัวเองผิดนัดชำระหนี้มานานแล้ว สามารถต่อสู้คดีกรณีหนี้ขาดอายุความได้
ส่วนการกู้ยืมเงินมักจะยากขึ้น เพราะปัญหาหนี้ NPL มีจำนวนเพิ่มขึ้น สถาบันการเงินจึงต้องตรวจสอบสถานะของลูกหนี้ในการปล่อยสินเชื่อให้รัดกุม เพื่อไม่ให้แบกรับภาระความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของสถาบัน
ข้อดีของการถูกฟ้อง
การถูกฟ้องนั้น ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว การเป็นหนี้ตามนั้นกฎหมายมีอายุความกำหนดไว้ว่ากรณีเป็นหนี้บัตรเครดิตจะมีอายุความ 2 ปี กรณีสินเชื่อส่วนบุคคล อายุความ 5 ปี กรณีการกู้ยืมเงินทั่วไปอายุความ 10 ปี
การฟ้องศาลจึงถือเป็นการหยุดอายุความ ซึ่งเป็นทางเลือกที่เจ้าหนี้ เลือกที่จะฟ้องลูกหนี้อยู่แล้ว
ถ้าฟ้องแล้วคำพิพากษาถึงที่สุด เจ้าหนี้ต้องบังคับคดีภายใน 10 ปีนับจากวันพิพากษา ถ้าฟ้องอายุความหยุดลงและโปรดรู้ไว้ว่า
- เรื่องหนี้นั้นเป็นคดีทางแพ่งไม่ติดคุก
- คดีจบเร็วไม่ยืดเยื้อ
- หากคดีนั้นขาดอายุความ ลูกหนี้สามารถต่อสู้คดีได้
- ลูกหนี้จะได้รับความเป็นธรรม ศาลจะช่วยดูเรื่องดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมที่ผิดกฎหมายให้ หรือสามารถต่อสู้คดีได้ หากผู้ประกอบการคิดดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมที่ผิดกฎหมาย
- ลูกหนี้ที่ไม่มีทรัพย์สินใดๆ มีแต่เงินเดือน อาจปล่อยให้กระบวนการทางคดี ไปถึงการอายัดเงินเดือน เพราะเจ้าหนี้ทำได้เพียงอายัดตามกฎหมายกำหนด และแม้มีเจ้าหนี้มากกว่า 1 ราย ก็จะสามารถทำได้ทีละรายเท่านั้นจนกว่าจะชำระหนี้เจ้าแรกที่บังคับคดีหมด
พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ช่วยลูกหนี้อย่างไร
พ.ร.บ.ฉบับนี้ออกมาเพื่อช่วยให้ลูกหนี้ไม่ถูกแรงกดดัน ข่มขู่ ทำร้ายร่างกาย ประจาน ทวงหนี้กับญาติพี่น้อง ทวงหนี้ไม่เป็นเวลา ทำให้เข้าใจว่าเป็นเจ้าหน้าที่ หรือการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเกินกว่ากฎหมายกำหนด จากผู้ที่ติดตามทวงหนี้ ลูกหนี้ที่ได้รับความเสียหายสามารถร้องเรียนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และที่ว่าการอำเภอได้ทุกแห่ง 
พ.ร.บ. การทวงหนี้ส่งผลกระทบกับคนทวงหนี้อย่างไร
- บริษัทหรือสำนักงานกฎหมายหรือบุคคลที่รับจ้างติดตามทวงหนี้ ต้องจดทะเบียน
- เจ้าหน้าที่รัฐห้ามทำธุรกิจทวงหนี้ บริษัทที่ซื้อหนี้เน่า (หนี้ NPL) จากสถาบันการเงินมาบริหารจัดการต้องรักษากติกาตามกฎหมาย ไม่สร้างแรงกดดัน ข่มขู่ลูกหนี้ ทำให้ลูกหนี้เข้าใจผิดว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หรือเรียกเก็บค่าติดตามหนี้ที่สูงเกินกฎหมายกำหนด
- มีโทษจำคุกและปรับ หากเจ้าหนี้หรือคนที่ติดตามทวงหนี้กระทำผิดกฎหมาย
แต่ถ้าคนทวงหนี้รู้กติกาและไม่ทำเกินกว่าเหตุ คงไม่มีการร้องเรียนเกิดขึ้นหรือหากเจ้าหนี้จะให้โอกาสลูกหนี้ผ่อนชำระ ด้วยการผ่อนปรนการชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็สามารถทำได้เพราะเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะดูแลลูกค้าของตัวเอง คงไม่เกี่ยวกับ พ.ร.บ.การทวงหนี้ ที่เจ้าหนี้ทั้งหลายพยายามจะอ้างแต่อย่างใด
หมายเหตุ: คลิกดู พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

"ผู้ค้ำประกันหนี้มีเฮ !! " กฎหมายใหม่คุ้มครอง ปลดล็อก "ผู้ค้ำประกัน" ไม่ต้องต้องรับผิดเสมือนเป็นลูกหนี้ชั้นต้นแล้ว!!!

"ผู้ค้ำประกันหนี้มีเฮ !! " กฎหมายใหม่คุ้มครอง ปลดล็อก "ผู้ค้ำประกัน" ไม่ต้องต้องรับผิดเสมือนเป็นลูกหนี้ชั้นต้นแล้ว!!!



12 ก.พ.ปีหน้า กฎหมาย ปลดล็อก"คนค้ำประกัน-ผู้จำนอง" บังคับใช้ แบงก์ ผวาเสี่ยงให้กู้

มติชนออนไลน์ รายงานว่า วันนี้ (๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๗)    ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่
“พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๕๗”

พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป 
หรือ มีผลบังคับใช้  ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ใช้บังคับอยู่
ในปัจจุบันยังไม่เพียงพอที่จะคุ้มครองสิทธิและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ค้ำประกัน และผู้จำนองซึ่งมิใช่ลูกหนี้ชั้นต้น แต่เป็น
เพียงบุคคลภายนอกที่ยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ในการที่จะชำระหนี้แทนลูกหนี้เท่านั้น โดยข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติปรากฏ
ว่าเจ้าหนี้ส่วนใหญ่ซึ่งเป็นสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบอาชีพให้กู้ยืม มักจะอาศัยอำนาจต่อรองที่สูงกว่าหรือความได้เปรียบ
ในทางการเงินกำหนดข้อตกลงอันเป็นการยกเว้นสิทธิ ของผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนองตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือให้ค้ำประกัน
หรือผู้จำนองต้องรับผิดเสมือนเป็นลูกหนี้ชั้นต้น กรณีจึงส่งผลให้ผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนองซึ่งเป็นประชาชนทั่วไปไม่ได้รับความ
คุ้มครองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย รวมทั้งต้องกลายเป็นผู้ถูกฟ้องล้มละลายอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อสร้างความเป็น
ธรรมให้แก่ผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้



พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๕๗ มีทั้งสิ้น ๒๔ มาตรา ดังนี้

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

ลูกหนี้ มีเฮ!! พรบ.การทวงหนี้ ประกาศแล้ว


คงไม่มีใครอยากได้ชื่อว่าเป็นลูกหนี้แน่นอน ถ้าไม่จำเป็น เพราะเมื่อเป็นลูกหนี้แล้ว ก็เหมือนกับตกเป็นทาสเลยทีเดียว หากจ่ายไม่ตรงเวลาก็จะถูกทวง  ถ้าเจ้าหนี้โทรหาลูกหนี้ไม่ติด  บางทีก็อาจโทรไปหาญาติ หรืออาจจะโทรไปหาที่ทำงานเลยทีเดียว และแน่นอนมันสร้างความอับอายให้แก่ลูกหนี้เป็นอย่างมาก!! (ก็ถ้ามีก็คงจ่ายไปแล้ว) บางคนอาจรับได้ โดยถือคติที่ว่า ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย….
แต่ตอนนี้!! รอบด้านดอทคอมมีข่าวดีมาบอก ตอนนี้ พรบ.การทวงถามหนี้ ประกาศออกมาแล้ว เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2558 ที่ผ่านมานี้เอง โดยจะมีผลบังคับใช้อีก6เดือน  โดยเน้นเอาผิดกับ
– ผู้ประกอบการเกี่ยวกับสินเชื่อ
– ธุรกิจท้วงหนี้
ข้อดีของการประกาศของ พรบ.ฉบับนี้ คือ ทำให้ยุคที่ลูกหนี้ถูกข่มขู่และกดขี่หมดไป
พรบ.การทวงหนี้ มีอะไรบ้างมาดูกัน
1.ห้ามไม่ให้เจ้าหนี้ทวงหนี้กับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ลูกหนี้ นอกจากจะถามข้อมูลทั่วไป เช่น  การโทรไปทวงหนี้กับที่ทำงาน ว่า นาย.ก ที่ทำงานอยู่ในบริษัทนี้ ได้เป็นหนี้กับทางบริษัทจำนวน….. เป็นต้น หากเป็นกรณีนี้ถือว่าผิดกฎหมาย
2.ห้ามทวงถามหนี้โดยใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจ ที่ทำให้คนอื่นรู้ว่าเป็นการทวงหนี้
3.ให้ทวงหนี้ ได้ภายในเวลาที่กำหนด  จันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่ 8.00 – 20.00 น. เสาร์-อาทิตย์ 8.00 – 18.00 น. และมีกำหนดจำนวนครั้งในการทวงต่อวัน
4.ห้ามทวงหนี้ในลักษณะที่เป็นการข่มขู่ ใช้ความรุนแรง หรือการกระทำใดๆ ที่ทำให้ลูกหนี้เสียชื่อเสียงหรือทรัพย์สิน เช่น
– ใช้คำพูดหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้ เช่น พนักงานทวงหนี้พูดว่า เมื่อไรจะจ่ายค่ะ เลยกำหนดมานานแล้ว  ถ้าไม่จ่ายภายในวันนี้ บริษัทจะดำเนินคดี  กรณีนี้ ถือว่าเป็นการข่มขู่
– เปิดเผย บอก หรือแสดง ว่าลูกหนี้เป็นหนี้ กับคนอื่นทราบ
– การติดต่อลูกหนี้โดยแสดงถึงการเป็นหนี้ของลูกหนี้อย่างชัดเจน เช่น การจ่าหน้าซองจดหมายโดยให้คนอื่นรู้อย่างชัดเจน
5.ห้ามทวงหนี้โดยทำให้เกิดความเข้าใจผิด ว่าเป็นการทวงหนี้ จากศาล หน่วยงานรัฐ ทนายความ หรือสำนักงานกฎหมาย เช่น ส่งมาโดยมีลักษณะเหมือนหมายศาล หรือข้อความว่าจะดำเนินคดี เป็นต้น
6.ห้ามทวงหนี้ โดยทำให้ลูกหนี้เข้าใจผิดว่า จะถูกดำเนินคดี ถูกยึดทรัพย์ อายัดทรัพย์ หรือถูกหักเงินเดือน เช่น บอกว่าถ้าไม่จ่าย จะถูกยึดบ้าน หักเงินเดือน เป็นต้น

บทลงโทษของเจ้าหนี้ หากไม่ทำตาม พรบ.
1.ผู้ประกอบการ(บริษัท นิติบุคคล)ที่ฝ่าฝืนกฎหมายนี้ จะถูกปรับไม่เกิน1 แสนบาท และอาจถูกเพิกถอนทะเบียนได้
2. ผู้ที่ทวงหนี้หากทำผิดตามกฎหมายนี้ มีโทษทางอาญาจำคุกสูงสุดไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท (แล้วแต่ความผิด)

ถึงแม้ว่าจะมี พรบ.ฉบับนี้ ขึ้นมา ทำให้ลูกหนี้ได้รับการปฏิบัติที่ดีขึ้น แต่เมื่อเป็นหนี้ยังไงก็ต้องจ่ายอยู่ดี ฉะนั้น การไม่เป็นหนี้ ย่อมเป็นลาภอันประเสริฐ!!
สำหรับวิธีการร้องเรียน รอบด้านดอทคอมจะนำมาให้ทราบกันอีกที

ข้อมูลเพิ่มเติม พรบ.การท้วงหนี้ พ.ศ.2558
 >>>>>>ทราบแล้วเปลี่ยน อย่าลืมแชร์สาระดีๆกันด้วยน่ะจ่ะ<<<<<<

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

ลูกหนี้บัตรเครดิต ได้เฮ จริง หรือไม่ ดูกันดีๆ ต่อไป


ที่มาของภาพ http://creditcardfocus.info/wp-content/uploads/2011/04/1302530451-50.jpg

นโยบาย ล่าสุดที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศออกมาในช่วงใกล้การเลือกตั้ง คือการให้ธนาคารรัฐรับโอนหนี้บัตรเครดิตจากสถาบันการเงิน และเปลี่ยนเป็นหนี้ส่วนบุคคลที่มีเงื่อนไขการชำระหนี้ระยะยาวขึ้นและอัตรา ดอกเบี้ยต่ำลง โดยลูกหนี้ที่จะเข้าโครงการนี้จะต้องมีประวัติการผ่อนชำระหนี้ที่ดี กล่าวคือเป็นลูกหนี้ที่ผ่อนชำระดอกเบี้ยหรือชำระขั้นต่ำร้อยละ 10

วัตถุประสงค์หลักของนโยบายนี้ รัฐบาลต้องการกระตุ้นสถาบันการเงินผู้ออกบัตรเครดิตเสนอเงื่อนไขที่ดีขึ้น โดยพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยบัตรเครดิตลง เพื่อรักษาสถานภาพของลูกหนี้กลุ่มนี้ไว้ ไม่ให้สูญเสียลูกหนี้ที่ดีให้แก่ธนาคารรัฐ
ถึงแม้ว่านโยบายนี้จะทำให้ลูกหนี้บัตรเครดิตได้รับประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่ลดต่ำลง แต่เมื่อพิจารณาถึงความสมเหตุสมผลของนโยบายนี้ ผมมีคำถามที่รัฐบาลน่าจะต้องตอบให้ได้เสียก่อนที่จะนำนโยบายนี้ไปสู่การปฏิบัติ

นโยบายมีความจำเป็นเร่งด่วนหรือไม่

แม้ว่านโยบายนี้มีวัตถุประสงค์ที่ดี แต่ผมยังไม่เห็นความจำเป็นเร่งด่วนของนโยบายนี้ เพราะผู้ที่ถือบัตรเครดิตไม่ใช่กลุ่มคนที่มีรายได้น้อยหรือคนยากจน คนกลุ่มนี้ยังมีทางเลือกในการแสวงหารายได้หรือแหล่งเงินทุนมาชำระหนี้ ยิ่งไปกว่านั้นลูกหนี้กลุ่มนี้ยังไม่ได้มีปัญหาขาดความสามารถในการชำระหนี้

แม้ ลูกหนี้บัตรเครดิตมีความน่าเห็นใจเพราะมีภาระหนี้ที่ต้องแบกรับ แต่ในสังคมยังมีผู้ที่เดือดร้อนและต้องการความช่วยเหลือมากกว่า การนำวงเงินสินเชื่อของธนาคารรัฐไปช่วยลูกหนี้บัตรเครดิตย่อมทำให้ผู้ที่มี ความจำเป็นมากกว่ามีโอกาสได้รับสินเชื่อหรือได้รับความช่วยเหลือลดลง

อัตราดอกเบี้ยที่รัฐบาลแทรกแซงเหมาะสมหรือไม่

อัตรา ดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทั่วไปเกิดจากความเสี่ยง ที่สูงกว่าเนื่องจากเป็นการให้กู้โดยไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ประกอบกับความเป็นสินเชื่อบุคคลรายย่อยทำให้ผู้ออกบัตรเครดิตมีต้นทุนการ ดำเนินงานและต้นทุนการติดตามชำระหนี้สูง นอกจากนี้การให้บริการบัตรเครดิตยังมีต้นทุนสูงในการลงทุนระบบเทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อจัดการข้อมูลการใช้จ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตอีกด้วย

อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่ผู้ออกบัตรเสนอแก่ลูกค้าในประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีอัตราค่อนข้างสูง เช่น สหรัฐอเมริกามีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยร้อยละ 14 ต่อปี อังกฤษร้อยละ 15 แคนาดาร้อยละ 19 จีนร้อยละ 18 เม็กซิโกร้อยละ 40 บราซิลร้อยละ 120 เป็นต้น ทั้งนี้นิตยสารดิอีโคโนมิสต์ประจำเดือนพฤษภาคมปี 2006 ระบุว่า ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่มีอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตเฉลี่ยประมาณร้อยละ 200 ต่อปี ในทำนองเดียวกับในประเทศไทยที่อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตค่อนข้างสูง

ตลาดสินเชื่อบัตรเครดิตในประเทศไทยมีการแข่งขันกันมากพอสมควร โดยผู้ออกบัตรมีทั้งธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร ถึงแม้ว่ายังไม่ใช่ตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยหนี้บัตรเครดิตในปัจจุบันอาจยังไม่ใช่อัตราที่เหมาะสมก็จริงอยู่ แต่คำถามคือ อัตราดอกเบี้ยที่รัฐบาลแทรกแซงเหมาะสมหรือไม่ และรัฐบาลรู้ได้อย่างไรว่าอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมควรจะเป็นเท่าไร

ลูกหนี้ที่ดีควรมีเงื่อนไขอย่างไร

ตามเงื่อนไขของนโยบายนี้ ลูกหนี้ที่มีประวัติการผ่อนชำระหนี้ที่ดีจะได้รับประโยชน์ แต่คำถามคือ ทำไมรัฐบาลจึงกำหนดหลักเกณฑ์ลูกหนี้ที่ดีไว้ที่การชำระขั้นต่ำร้อยละ 10 ของยอดสินเชื่อคงค้างทั้งสิ้น แต่ลูกหนี้ที่ผ่อนชำระขั้นต่ำตั้งแต่ร้อยละ 5 ขึ้นไปแต่ต่ำกว่าร้อยละ 10 กลับไม่ได้รับประโยชน์ ทั้งที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ว่า เงื่อนไขการชำระหนี้ขั้นต่ำจะต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ของยอดสินเชื่อคงค้างทั้งสิ้น

โดยปกติ ลูกหนี้บัตรเครดิตจะเลือกใช้บริการบัตรเครดิตของผู้ออกบัตรรายใด โดยพิจารณาจากเงื่อนไขการชำระขั้นต่ำตามความสามารถในการชำระหนี้ของตน ซึ่งเงื่อนไขการชำระหนี้ขั้นต่ำยิ่งต่ำเท่าไร อัตราดอกเบี้ยก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น ลูกหนี้ดีที่ผ่อนชำระขั้นต่ำตั้งแต่ร้อยละ 5 ขึ้นไปแต่ต่ำกว่าร้อยละ 10 จึงต้องแบกรับอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าลูกหนี้ที่ดีที่ชำระขั้นต่ำร้อยละ 10 ขึ้นไปเสียอีก แต่กลับไม่ได้รับความช่วยเหลือจากนโยบายนี้ทั้งที่ยังชำระหนี้อย่างสม่ำเสมอ

การดำเนินนโยบายสร้างผลกระทบหรือไม่

อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่อยู่ในระดับสูงอาจมองได้สองแง่ คือ มุมมองแรกเป็นไปเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกหนี้ขาดวินัยในการชำระหนี้ หรือมุมมองที่สองเป็นการลงโทษลูกหนี้ที่ดี ซึ่งรัฐบาลใช้มุมมองที่สองในการกำหนดนโยบาย

แน่นอนว่านโยบายนี้จะทำให้ลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดีได้รับประโยชน์ แต่ในอีกแง่หนึ่ง นโยบายนี้เป็นการส่งสัญญาณที่ไม่ดี เพราะจะทำให้ผู้ถือบัตรเครดิตเกิดพฤติกรรม moral hazard มากขึ้น ผู้ถือบัตรอาจมีการใช้จ่ายผ่านบัตรมากขึ้นและมีวินัยในการชำระหนี้ลดลง เพราะรู้ว่าหากผิดนัดชำระหนี้จะถูกลงโทษไม่รุนแรงมากเหมือนเดิม และยังอาจทำให้สัดส่วนหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของหนี้บัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น

ผลของนโยบายยั่งยืนหรือไม่

นโยบาย นี้จะส่งผลในระยะสั้นเท่านั้น เมื่อวงเงินที่ธนาคารรัฐจัดสรรเพื่อใช้ในการแทรกแซงตลาดสินเชื่อบัตรเครดิต หมดลง อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตก็จะกลับคืนสู่สภาพปกติ เพราะรัฐบาลไม่ได้เข้าไปแก้ไขโครงสร้างตลาดให้มีการแข่งขันสมบูรณ์มากขึ้น หรือไม่ได้แก้ไขกฎระเบียบการกำหนดค่าธรรมเนียมและอัตราดอกเบี้ยเพื่อคุ้ม ครองลูกหนี้ หรือไม่ได้เพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลการกำหนดอัตราดอกเบี้ยและค่า ธรรมเนียมของผู้ออกบัตร

เนื่องด้วยการบริหารประเทศของรัฐบาลมีหลายเป้าหมายที่ต้องทำให้สำเร็จ และมีหลายกลุ่มคนที่รัฐบาลต้องดูแล การกำหนดนโยบายของรัฐบาลจึงมีปัจจัยหลายประการที่ต้องให้ความสำคัญอย่างสมดุล และไม่ควรออกนโยบายที่มุ่งแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งหรือมุ่งหวังเพียงสร้างคะแนนนิยมกับคนกลุ่มหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบของนโยบายกับคนกลุ่มอื่นหรือปัญหาอื่นย่อมไม่ใช่นโยบายที่ดี



ได้รับการตีพิมพ์จากเดลี่นิวส์ออนไลน์ คอลัมน์บทความ :แนวคิด ดร.แดน วันพุธที่ 18 พฤษภาคม 2554

ต่อสู้อย่างไร จึงชนะ พี่เค๊าเล่าเรื่อง

  • เหยื่อฟองสบู่แตก ปี 2540 - เรื่องนี้เป็นเรื่องของหลานชาย ค่ะ แต่ก็เกี่ยวกับเราเต็มๆได้เริ่มกู้เพื่อที่อยู่อาศัย ก่อนหน้าแบงค์ชาติประกาศ งดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ไม่กี่วัน ไม่มีใครร...
    15 ปีที่ผ่านมา