ลูกหนี้เมาส์ กระจาย หน้าซีบอกซ์ คุยกันสดๆ เลย ขอรับ

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

ลูกหนี้ มีเฮ!! พรบ.การทวงหนี้ ประกาศแล้ว


คงไม่มีใครอยากได้ชื่อว่าเป็นลูกหนี้แน่นอน ถ้าไม่จำเป็น เพราะเมื่อเป็นลูกหนี้แล้ว ก็เหมือนกับตกเป็นทาสเลยทีเดียว หากจ่ายไม่ตรงเวลาก็จะถูกทวง  ถ้าเจ้าหนี้โทรหาลูกหนี้ไม่ติด  บางทีก็อาจโทรไปหาญาติ หรืออาจจะโทรไปหาที่ทำงานเลยทีเดียว และแน่นอนมันสร้างความอับอายให้แก่ลูกหนี้เป็นอย่างมาก!! (ก็ถ้ามีก็คงจ่ายไปแล้ว) บางคนอาจรับได้ โดยถือคติที่ว่า ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย….
แต่ตอนนี้!! รอบด้านดอทคอมมีข่าวดีมาบอก ตอนนี้ พรบ.การทวงถามหนี้ ประกาศออกมาแล้ว เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2558 ที่ผ่านมานี้เอง โดยจะมีผลบังคับใช้อีก6เดือน  โดยเน้นเอาผิดกับ
– ผู้ประกอบการเกี่ยวกับสินเชื่อ
– ธุรกิจท้วงหนี้
ข้อดีของการประกาศของ พรบ.ฉบับนี้ คือ ทำให้ยุคที่ลูกหนี้ถูกข่มขู่และกดขี่หมดไป
พรบ.การทวงหนี้ มีอะไรบ้างมาดูกัน
1.ห้ามไม่ให้เจ้าหนี้ทวงหนี้กับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ลูกหนี้ นอกจากจะถามข้อมูลทั่วไป เช่น  การโทรไปทวงหนี้กับที่ทำงาน ว่า นาย.ก ที่ทำงานอยู่ในบริษัทนี้ ได้เป็นหนี้กับทางบริษัทจำนวน….. เป็นต้น หากเป็นกรณีนี้ถือว่าผิดกฎหมาย
2.ห้ามทวงถามหนี้โดยใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจ ที่ทำให้คนอื่นรู้ว่าเป็นการทวงหนี้
3.ให้ทวงหนี้ ได้ภายในเวลาที่กำหนด  จันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่ 8.00 – 20.00 น. เสาร์-อาทิตย์ 8.00 – 18.00 น. และมีกำหนดจำนวนครั้งในการทวงต่อวัน
4.ห้ามทวงหนี้ในลักษณะที่เป็นการข่มขู่ ใช้ความรุนแรง หรือการกระทำใดๆ ที่ทำให้ลูกหนี้เสียชื่อเสียงหรือทรัพย์สิน เช่น
– ใช้คำพูดหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้ เช่น พนักงานทวงหนี้พูดว่า เมื่อไรจะจ่ายค่ะ เลยกำหนดมานานแล้ว  ถ้าไม่จ่ายภายในวันนี้ บริษัทจะดำเนินคดี  กรณีนี้ ถือว่าเป็นการข่มขู่
– เปิดเผย บอก หรือแสดง ว่าลูกหนี้เป็นหนี้ กับคนอื่นทราบ
– การติดต่อลูกหนี้โดยแสดงถึงการเป็นหนี้ของลูกหนี้อย่างชัดเจน เช่น การจ่าหน้าซองจดหมายโดยให้คนอื่นรู้อย่างชัดเจน
5.ห้ามทวงหนี้โดยทำให้เกิดความเข้าใจผิด ว่าเป็นการทวงหนี้ จากศาล หน่วยงานรัฐ ทนายความ หรือสำนักงานกฎหมาย เช่น ส่งมาโดยมีลักษณะเหมือนหมายศาล หรือข้อความว่าจะดำเนินคดี เป็นต้น
6.ห้ามทวงหนี้ โดยทำให้ลูกหนี้เข้าใจผิดว่า จะถูกดำเนินคดี ถูกยึดทรัพย์ อายัดทรัพย์ หรือถูกหักเงินเดือน เช่น บอกว่าถ้าไม่จ่าย จะถูกยึดบ้าน หักเงินเดือน เป็นต้น

บทลงโทษของเจ้าหนี้ หากไม่ทำตาม พรบ.
1.ผู้ประกอบการ(บริษัท นิติบุคคล)ที่ฝ่าฝืนกฎหมายนี้ จะถูกปรับไม่เกิน1 แสนบาท และอาจถูกเพิกถอนทะเบียนได้
2. ผู้ที่ทวงหนี้หากทำผิดตามกฎหมายนี้ มีโทษทางอาญาจำคุกสูงสุดไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท (แล้วแต่ความผิด)

ถึงแม้ว่าจะมี พรบ.ฉบับนี้ ขึ้นมา ทำให้ลูกหนี้ได้รับการปฏิบัติที่ดีขึ้น แต่เมื่อเป็นหนี้ยังไงก็ต้องจ่ายอยู่ดี ฉะนั้น การไม่เป็นหนี้ ย่อมเป็นลาภอันประเสริฐ!!
สำหรับวิธีการร้องเรียน รอบด้านดอทคอมจะนำมาให้ทราบกันอีกที

ข้อมูลเพิ่มเติม พรบ.การท้วงหนี้ พ.ศ.2558
 >>>>>>ทราบแล้วเปลี่ยน อย่าลืมแชร์สาระดีๆกันด้วยน่ะจ่ะ<<<<<<

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ต่อสู้อย่างไร จึงชนะ พี่เค๊าเล่าเรื่อง

  • เหยื่อฟองสบู่แตก ปี 2540 - เรื่องนี้เป็นเรื่องของหลานชาย ค่ะ แต่ก็เกี่ยวกับเราเต็มๆได้เริ่มกู้เพื่อที่อยู่อาศัย ก่อนหน้าแบงค์ชาติประกาศ งดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ไม่กี่วัน ไม่มีใครร...
    15 ปีที่ผ่านมา